ไขข้อสงสัย เมื่อไหร่รถยนต์ไฟฟ้าจะวิ่งได้เกิน 500 กม.ชาร์จเพียง10-15นาที
เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าอีกนานแค่ไหน ที่รถยนต์ไฟฟ้าจะวิ่งได้เกิน 500 กิโลเมตรและใช้เวลาชาร์จเพียง 10-15 นาที โดยสมาชิกพันทิปหมายเลข 1049607ตั้งกระทู้คำถามเล่าว่า..
ปัญหาหนึ่งของไทยที่รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่นิยมมากก็คือ จุดชาร์ตน้อย ใช้เวลาชาร์ตค่อนข้างนาน และวิ่งได้ระยะทางน้อย ที่เห็นขายที่ไหนส่วนใหญ่วิ่งได้แค่ 200-300 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งยังไม่พอสำหรับไปเที่ยวแบบไป-กลับ กรุงเทพ-หัวหิน เลยด้วยซ้ำ และใช้เวลาชาร์ตค่อนข้างนาน เพราะที่ไทยไม่มี supercharging stations แบบที่เมืองนอก ที่กำลังไฟ 150-250KW
ที่เมืองนอกรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยม โดยเฉพาะยุโรปก็เพราะว่าประเทศยุโรปไม่ใหญ่มาก บางทีวิ่ง 200-300 กิโลเมตรก็ได้รอบประเทศแล้ว บางทีประเทศเล็กๆอยู่ติดกันสามารถไปได้ 2-3 ประเทศเลยก็ได้
แต่ถ้าอนาคตมีรถยนต์ไฟฟ้าที่วิ่งได้เกิน 500 กิโลเมตรและใช้เวลาชาร์ตเพียง 10-15 นาที ถึงตอนนั้นรถยนต์ไฟฟ้าในไทยก็อาจจะได้รับความนิยมก็ได้
ต่อมาก็มีชาวเน็ตออกมาให้ความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น
การชาร์จแบบเร่งด่วนขนาดนั้น power จะสูงมากครับอย่างรถ EV ที่วิ่งได้ 500 กม. แบตเตอรี่น่าจะมีขนาดประมาณ 130 kWh แบตขนาดนี้ ชาร์จให้เต็มภายใน 15 นาที จะต้องใช้ power มากถึง130 kWh / (15/60) ชม. = 530 kW ต้องใช้หม้อแปลงแบบนี้กันเลยทีเดียว
ทำไมรถจะต้องวิ่งถึง 500 กม และชาร์จ เร็ว ภายใน 15 นาทีด้วยครับ ในชิวิตจริงของการใช้งานในบ้านเรา คนที่มี EV เขาก็ชาร์จกันที่บ้าน ก่อนเป็นอันดับแรกอยู่แล้วครับ เพราะงั้นแบตมันจะเต็มตั้งแต่ก่อนจะใช้รถแล้วครับ สมมุติว่า รถวิ่งได้ 300 โล ใน 1 วันที่ใช้งาน ถ้าต้องวิ่งรถ วันล่ะ 280 โล ทุกวัน เราก็กลับมาชาร์จกันที่บ้านได้อยู่แล้วครับ ถ้ามีธุระต้องไปต่างจังหวัด การขับรถ รวดเดียว 280 มันก็ถือว่าเหนื่อยแล้วครับยังไงก็ต้องพักคนเกิน 15 นาทีอยู่แล้ว เผลอ ๆ อาจจะพักเป็น ชม ด้วยซ้ำ ยิ่งรถ วิ่งได้ไกลมาก แบตก็ต้องมาก ค่าใช้จ่ายก็ต้องมากยิ่งขึ้น รวมถึง การชาร์จได้เร็ว แบตก็ต้องคุณภาพดี ราคาก็จะแพงขึ้นไปอีก ทีนี้ ค่าใช้จ่ายตอนเริ่มซื้อมันก็จะสูงขึ้น ไปอีก เพราะงั้น รถ EV เลือกระยะตามที่ใช้งานจริง ไม่ต้องเผื่อมาก ค่าใช้จ่ายมันก็จะต่ำลงมา
ทั้งตอนซื้อ และตอนที่ต้องซ่อมบำรุง รักษา ต้องเปลี่ยนแบต เพราะงั้น มันจะนิยม ได้หรือไม่นิยมในบ้านเรา สิ่งแรกที่จะต้องเกิดก่อน คือ ความเข้าใจ ใน EV ครับ เพราะทุกวันนี้ หัวชาร์จ บางหัวก็แทบจะร้าง ไม่มีคนไปชาร์จแล้วครับ เพราะ เขาชาร์จกันที่บ้านเป็นหลัก อย่างต่างประเทศก็ 90 เปอร์เซนต์โน่นล่ะครับที่ชาร์จกันที่บ้าน และชาร์จที่บ้านเขาก็ไม่ได้ต้องการให้มันเต็มเร็วด้วยครับ เพราะมันก็จะเปลืองเงินโดยใช่เหตุ เพราะรถ ต่อให้มันมีแบต แค่ 20 เปอร์เซนต์มันก็วิ่งใช้งานได้ครับ บางคนชาร์จทีนึงวิ่งได้เป็นอาทิตย์ ถึงจุดนึง ค่ายรถก็จะไม่เพิ่มระยะทางวิ่งของรถ แล้วครับ เหมือนกับที่รถยนต์ ไม่ทำถังน้ำมันให้มันใหญ่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ
เท่าที่เคยฟังตามงานสัมนาต่างๆ และการพูดคุยกับหลายๆภาคส่วน นะครับ จะมีประเด็นประมาณนี้
1. เรื่องสถานีชาร์จไฟแรงสูง มีคนพร้อมลงทุนหลายเจ้าครับ บางเจ้าก็ลงทุนไปแล้วก็มี แต่ล็อคฟังก์ชั่นชาร์จเร็วไว้ เพียงแต่เขารอสัญญาณทิศทางให้ชัดเจนครับ ที่คาดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนให้ปริมาณรถ BEV มีมากเพียงพอที่การลงทุนจะคุ้มทุนเขานั่นแหละครับ เช่น ถ้ารัฐบาลประกาศมาตรการ นโยบาย อะไรซักอย่าง ที่ทำให้ EV ราคาลดลง จูงใจให้คนมาใช้มากขึ้น กลุ่มบริษัท เหล่านี้เขาก็พร้อมลุย ลงทุนสร้างสถานีทันทีครับ เพราะว่าพวกนี้เขาศึกษา และติดตามเทคโนโลยี ตลอดอยู่แล้ว
2. ที่ คห. ที่ 15 เขาพูดถึงเรื่องการชาร์จที่บ้าน กับที่สถานี จากงานวิจัยต่างประเทศ เป็นแบบนั้นจริงๆ ครับ ทั้งฝั่งยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น มากกว่า 80% กลับไปชาร์จที่บ้านครับ 1 ปี มี 365 วัน วันทำงานประมาณ 250 วัน วันหยุดพักผ่อนที่ต้องขับรถไปเที่ยวทางไกล ไม่เกิน 30 วัน/ปี นั่นหมายความว่า ที่เหลือ ขับอยู่ในเส้นทางเดิมๆ ระยะทางเดิมๆ ซึ่งระยะทางที่รถวิ่งต่อ 1 วัน น้อยกว่าความสามารถของรถเยอะครับ เช่นใช้รถเฉลี่ยวันละ 60 กม. แต่รถขับได้ตั้ง 250-300 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ดังนั้น คนส่วนมากจึงกลับไปชาร์จที่บ้าน เสียบหัวชาร์จตั้งแต่ช่วงเย็น - หัวค่ำ ทิ้งไว้ข้ามคืนกัน เช้ามา แบตก็เต็มพร้อมใช้งาน น้อยมากๆ ที่จะต้องไปพึ่งสถานีชาร์จ
3. การใช้วิธีการเปลี่ยนแบต สำหรับ BEV ที่เป็นรถบ้าน ค่อนข้างเป็นไปได้ยากเหมือนกัน เพราะว่า
3.1 ไม่มีมาตรฐานกลาง แต่ละเจ้าใช้สเปคของตัวเอง เทคโนโลยีต่างกัน ยากที่รายใหญ่ๆ จะยอมกัน เช่น Benz BM ไม่ยอมใช้มาตรฐาน tesla
3.2 การเข้าถึงตำแหน่งติดตั้งแบต ไม่ได้เข้าถึงกันได้ง่ายๆ ต้องถอดชิ้นส่วนโน่น นี่นั่น จิปาถะ ถ้าจะออกแบบให้ถอตเข้า ถอดออกง่ายๆ สำหรับรถบ้าน ให้มัน match กับมาตรฐานความปลอดภัย ก็ทำได้ยากเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นกรณีรถบรรทุก หรือรถบัส มีความเป็นไปได้สูงกว่า
3.3 สำหรับฝั่งผู้ใช้รถ ก็เป็นจุดที่เขากังวลเรื่องคุณภาพแบตเหมือนกัน เช่น ผมเพิ่งออกรถมาได้อาทิตย์เดียวเพิ่งได้ของใหม่ๆ มา ไปเปลี่ยแบตที่สถานี เอาแบตใครมาใส่ให้ผม เก่าหรือใหม่ ไว้ใจได้ไหม บลาๆๆๆๆ
4. การชาร์จไฟที่บ้าน ตามข้อ 2 ไม่ได้ต้องการการชาร์จที่เร็วมากๆ เหมือนสถานีชาร์จ ใช้เวลาชาร์จประมาณ 6-10 ชั่วโมง ผ่าน wall box อย่าง MG ก็กินไฟประมาณ 7.2 kW (ประมาณ 30-35 แอมป์) ดังนั้น การชาร์จที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปตั้งหม้อแปลงเพิ่มแต่อย่างใด แค่ไปขอเปลี่ยนมิเตอร์เป็นขนาดใหญ่ขึ้นแทน ขนาด 30(100) แอมป์
ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยถ้ารัฐบาลประกาศมาตรการ นโยบาย อะไรซักอย่าง ที่ทำให้ EV ราคาลดลง จูงใจให้คนมาใช้มากขึ้น กลุ่มบริษัท เหล่านี้เขาก็พร้อมลุย ลงทุนสร้างสถานีทันที เพราะตอนนี้คนไทยยังไม่นิยมใช้รถ EV ต้องรอสัญญาณทิศทางให้ชัดเจนก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : สมาชิกหมายเลข 1049607