เหตุผลที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยมี หมู่บ้านจัดสรรเยอะเหมือนเมืองไทย
เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยประเด็นใหม่ที่พึ่งสังเกตจากคนรอบตัวที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นมา เวลาออกต่างจังหวัดไปดูสภาพความเป็นอยู่นอกใจกลางเมือง ไม่พบเห็นหมู่บ้านจัดสรรลักษณะที่เป็นแบบล้อมรั้วกำแพงทั้งโครงการ มีทางเข้า-ออกพร้อมป้อมรปภ.ก่อนผ่านทางชัดเจน
โดยวันนี้ไข่เจียวได้รวบรวมเหตุผลที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยมี "หมู่บ้านจัดสรร" เยอะเหมือนเมืองไทย จากเพจ JapanPerspective เป็นประเด็นใหม่ที่หลายคนสงสัย
• เป็นเพราะบ้านเรือนปกติในย่านที่อยู่อาศัย 'มันเวิร์คของมันอยู่แล้ว' ก็เป็นได้? เลยไม่ค่อยมีหมู่บ้านจัดสรรจาก developer
• การมีหมู่บ้านจัดสรรมักต้องมีการต้องล้อมรั้วทั้งโครงการ มีทางเข้าออกเฉพาะจุด พร้อมรปภ.และระบบรักษาความปลอดภัยครอบคลุมทั้งโครงการ 24 ชม. รวมถึง facilities ต่างๆภายในโครงการ
• ญี่ปุ่นมีความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว อัตราอาชญากรรมน้อย(แต่ขโมยจักรยารเยอะ) ตามในซอยมีกล้องวงจรปิดเป็นระยะ+ไฟส่องสว่างพอเพียง น่าคิดว่าในเมื่อปลอดภัยอยู่แล้วเลยไม่จำเป็นต้องมีรั้วและกำแพง (แบบบ้านฝรั่ง)
• ตามย่านที่อยู่อาศัยบางแห่งมีสิ่งที่เรียกว่า 回覧板 (Kairanban -ไครันบัง) เป็นหนังสือเวียนให้วนกันอ่าน อ่านเสร็จก็ประทับตราว่าอ่านรับทราบแล้ว ใช้เวลามีเรื่องสำคัญๆ ภายในก็มีหัวข้อเช่นว่า รบกวนช่วยกันเข้มงวดเรื่องแยกขยะ/จอดจักรยานให้เป็นที่เป็นทางมากกว่านี้หน่อย หรือ ช่วงนี้มีคนแปลกหน้าบุคลิกท่าทางดูน่าสงสัยให้ดูลาดเลาเป็นพิเศษ เป็นการตรวจตราของ “ชุมชน” นั้นๆ ด้วยกันเอง
• ความเป็นชุมชนนี้ครอบคลุมอีกหลายเรื่องมากๆ เช่น ทำความสะอาดหน้าบ้านตัวเอง / แยกทิ้งขยะ / อาสาสมัครตามจุดดูแลเด็กเดินไปโรงเรียนตอนเช้า ฯลฯ
• ความเป็นชุมชนนี้ครอบคลุมอีกหลายเรื่องมากๆ เช่น ทำความสะอาดหน้าบ้านตัวเอง / แยกทิ้งขยะ / อาสาสมัครตามจุดดูแลเด็กเดินไปโรงเรียนตอนเช้า ฯลฯ
• หมู่บ้านจัดสรรโดยปกติมักมีขนาดพื้นที่ใหญ่พอสมควร แต่ที่ดินในญี่ปุ่นมีจำกัดและราคาสูง การพัฒนาอสังหาแนวสูงอย่างคอนโดที่ใช้ที่ดินน้อยกว่ามากจึงดึงดูด developer มากกว่า?
• อีกทั้งหมู่บ้านจัดสรรห้ามคนนอกเข้าอย่างเข้มงวด ในด้านความเป็น “เมือง” มันได้ปิดพื้นที่บล็อคเส้นทางถนนหนทางบริเวณนั้นๆไปโดยปริยาย เชื่อมถึงกันยากขึ้น นั่นหมายถึงการ access ขนส่งมวลชนก็ยากขึ้นเช่นกัน?
• แต่ทั้งนี้ บางทำเลมีบ้านหลายหลัง (เช่น 20-30 หลัง) ที่ถูกสร้างพร้อมๆ กันด้วย “developer เจ้าเดียว” เพียงแต่ ‘ไม่มีการล้อมรั้ว’ หรือทำทางเข้า-ออก จุดใดจุดหนึ่งแต่อย่างใด ไม่ใช่พื้นที่ปิดแต่เชื่อมกับซอยถนนเส้นอื่นอย่างธรรมชาติ คนก็เดินง่าย รถก็มีทางเข้าออกหลายทาง
• หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ ทำให้คนต้องพึ่งพารถส่วนตัวเป็นจำนวนมาก ลดปริมาณจราจรแออัดช่วง ช.ม เร่งด่วน ในเส้นทางนั้นๆ การเกิดของหมู่บ้านจัดสรรค์ ที่บีบให้ลูกบ้านต้องมี รถยนต์ส่วน คือปัจจัยนอกเหนือการควบคุม ที่ไม่สามารถ แก้ไขได้ เรื่องนี้ ก็จะโยงไปที่ต้นการขนส่งภาพรวมของประเทศ และการวางเมืองที่ ไม่มีแบบแผน ควบคุมอะไรไม่ได้มาก เพราะถูกถนนสาธารณะบังคับ
แต่ละประเทศแต่ละเมือง ก็มีปัจจัยมากมาย อาทิเช่น ภาษี / ราคาที่ดิน / ข้อกฎหมาย / ความคุ้มค่าการลงทุน / หรือแม้แต่รสนิยมผู้คน ฯลฯ ที่หล่อหลอมให้เกิด/ไม่เกิด ความนิยมการพัฒนาอสังหาฯ บางประเภทขึ้น เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : JapanPerspective