วัสดุก่อสร้างกินได้ รีไซเคิลจากเศษผักผลไม้ แข็งกว่ากว่าคอนกรีต
หากคุณมีส่วนในการสร้างขยะ ก็สามารถช่วยจัดการได้เช่นกัน อย่างที่เรารู้ๆ กันว่า ปริมาณขยะอาหารอาหารทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2019 พบว่า มีการสูญเสียอาหารและวัตถุดิบอาหารกว่า 1.3 พันล้านตันคิดเป็น หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อการบริโภคทั่วโลก
เรียกได้ว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของการรีไซเคิลเศษอาหาร แต่แปลกใหม่ด้วยการเก็บไว้ในรูปแบบที่ยังกินได้อีกด้วย
หลักการของมันไม่ต่างจากการนำขี้เลื่อยมาเป็นวัสดุก่อสร้าง แต่เปลี่ยนเป็นเศษผัก ผลไม้เท่านั้น โดยขั้นแรกจะทำให้แห้งด้วยสุญญากาศแล้วบดให้ละเอียด จากนั้นนำผงมาผสมรวมกับสาหร่ายทะเล น้ำ และเครื่องปรุงแล้วกดในแม่พิมพ์ที่อุณหภูมิสูง
วัสดุที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เศษผักบางชนิดเมื่อนำมาอัดแล้ว เช่นกระหล่ำปลี มีความแข็งแรงมากกว่าคอนกรีตด้วยซ้ำ และยังจะป้องกันการเน่า เชื้อรา และแมลงได้เป็นเวลา 4 เดือน
ซึ่งนักวิจัยเองก็ยังไม่แน่ใจว่า วัสดุเหล่านี้จะใช้ทำอะไรได้บ้างเพราะมีเงื่อนไขการย่อยสลายอยู่ ที่แน่ๆ คงไม่สามารถใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถาวรที่ต้องอยู่ได้นานๆ หรือวัสดุนี้จะเป็นเพียงบทพิสูจน์ของบ้านกินได้ในนิทานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม วัสดุก่อสร้างที่มีอายุคาดว่ามีอายุประมาณ 4 เดือน แต่ก็มีข้อดีถ้านำมาประกอบฉาก อุปกรณ์ออกงานอีเว้นท์ในระยะสั้นก็ถือว่าดีเยี่ยมแถมมีกลิ่นหอมน่ากินอีกด้วย เชื่อว่าคงไม่หยุดแค่นี้แต่นี้ก็เป็นทิศทางที่ดีในการกำจัดขยะ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป