ถกกันยับ ล้อแม็กที่ดีควรเป็นยังไง จะรู้ได้ยังไงว่าล้อไหน ดีหรือไม่ดี?
การเลือกซื้อล้อแม็ก จึงสำคัญมาก เพราะนั้นหมายถึงชีวิตของเราเลย เจ้าของรถกระบะแต่งคันนี้ เล่าให้ฟังว่าได้ล้อแม็กซ์ชุดหนึ่งมาจากเว็บขายออนไลน์ในราคาวงละพันกว่าบาท มือ1 ซึ่งผู้ขายบรรยายสรรพคุณว่า ทนทาน สวย งานเนี๊ยบ และเจ้าตัวเคยใช้งานก๊อบไต้หวันมาแล้วไม่เคยมีปัญหา จึงกล้าซื้องานก๊อบปี้มาใส่ คิดว่าคงเหมือนๆกัน เปลี่ยนใส่เรียบร้อยพร้อมยาง
สุดท้ายก็มาหาเปลี่ยนใส่ล้อมือ2แบบเดิมติดรถตรงรุ่นใช้ไปก่อน ซึ่งนับว่าโชคดีที่เจ้าของรถไม่เจออุบัติเหตุร้ายแรง
วันก่อนผมเข้าไปอ่านเจอดราม่าเรื่องล้อแม็กมาจากเพจชุมชุนของคนขับรถแห่งหนึ่ง เนื้อเรื่องก็ถกเถียงกันว่า ล้อของรถที่ประสบอุบัติเหตุ สภาพล้อที่พังยับเยิน จนล้อแม็กเกิดการแตกหัก
จริงๆ แล้ว มันเป็นล้อที่ดีแค่สวย แต่คุณภาพห่วยสุด ๆ หรือ ว่าชนขนาดนี้ล้อแม็กดีๆก็ไม่รอดหรอก
จุดเริ่มต้นของล้อแม็ก หรือ ภาษาอังกฤษ เราเรียนว่า Alloy Wheel หรือล้ออัลลอย เกิดจากสนามแข่งที่ต้องการลดน้ำหนักของรถให้ลดลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วของรถให้มากขึ้น
"ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความแข็งแรง"
เพราะพื้นฐานของอะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมที่นำมาใช้ทำล้อนั้น ในปริมาตรที่เท่ากัน ความแข็งแรงจะต่ำกว่าเหล็ก
แต่สิ่งที่ดีกว่าล้อเหล็กคือความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่สูง (High Strength per Weight Ratio)
ซึ่งหมายถึงในน้ำหนักวัสดุที่เท่ากัน อะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมอัลลอยด์ จะสามารถรับแรงหรือรับน้ำหนักได้สูงกว่าเหล็ก
ดังนั้นหากในกรณีที่ออกแบบล้อให้ที่มีความสามารถในการรับแรงที่เท่ากัน การใช้อะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียม จะช่วยลดน้ำหนักล้อได้
จากรูปจะเห็นได้ว่า ล้อ ที่เกิดความเสียหายนั้น ตัวล้อ เกิดการแตกหักแต่ยังคงยึดดีกับเพลาและปีกนก ส่วนบริเวณที่เกิดการแตกหักนั้น พบการเสียรูป (บริเวณก้านล้อเกิดการยืดตัว) มีการยืดตัวของเนื้อวัสดุก่อนเกิดการฉีกขาด หรือ Plastic deformation before rupture ซึ่งเป็นรูปแบบการแตกหักแบบเหนียว
ล้อแม็กที่ดีนั้นจะต้องมีทั้งความแข็งแรงที่ดีและมีความเหนียวสูง ไม่เกิดการแตกหักแบบเปราะในระหว่างการใช้งาน
ในเคสนี้ เรียกได้ว่าล้อที่เกิดความเสียหาย คงทำหน้าที่ของมันอย่างสุดความสามารถแล้ว ก่อนที่มันจะเกิดการฉีกขาด++
แล้วล้อแม็กที่ไม่ดีละ ต่างกันอย่างไร ?
ล้อแม็กที่ไม่ดีนั้น ส่วนใหญ่จะมีความแข็งสูง แต่ความเหนียวต่ำ
เพราะผู้ผลิตอาจจะไม่มีความเข้าใจด้านโลหวิทยา ก๊อบปี้มาแต่ลายของล้อแม็ก
อะลูมิเนียมอัลลอยที่นิยมใช้ทำล้อแม็ก ส่วนใหญ่จะเป็น Al Alloy เกรด 6061 (AlSiMgCu) ที่ต้องผ่านกระบวนการอบชุบความร้อนชนิด T 6 (Solid Solution Treatment/ Quench/ Aging)
ที่จำเป็นคุมอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมซึ่งหากกระบวนการนี้ผิดพลาดอาจทำให้ล้อแข็งแต่เปราะ และไม่สามารถทนแรงกระแทกในระหว่างการใช้งานได้
โลหะอย่างเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม เราสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการเผาและชุบน้ำ จากนั้นก็จะทำการควบคุมอัตราการเย็นตัวของโลหะ อาจจะชุบน้ำ ชุบน้ำมัน หรือ ปล่อยให้เย็นในอากาศปกติ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเหนียวหรือความแข็ง
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าล้อไหน ดี หรือ ไม่ดี ?
ยากครับ หากเรามองด้วยตาเปล่า
เพราะสมบัติของล้อมันเกี่ยวกับตั้งแต่การออกแบบ ชนิดของธาตุผสม กระบวนการผลิต และ กระบวนการอบชุบทางความร้อน
และส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีใครบอกรายละเอียด หรือ สมบัติพวกนี้
รวมถึงอาจจะมีข้อบกพร่องภายในสูงล้อพวกนี้มักพบรูปแบบการแตกหักแบบเปราะ ไม่พบการยืดตัวของเนื้อวัสดุ
ก้านล้อที่สวยงาม อาจจะเกิดการแตกหักได้จากการกระแทกเพียงครั้งเดียวทำให้บังคับล้อไม่ได้ และนำไปสู่อุบัติเหตุในที่สุด“เจอหลุม แล้วต้องค่อยๆ คลาน เดี๋ยวแม็กจะพัง”
จึงกลายเป็นประโยคที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ
ส่วนที่ล้อที่ได้คุณภาพนั้น ล้ออาจจะเสียรูปทรงไปบางส่วน หรือ ที่เรียกว่าล้อดุ้ง แต่ยังเปิดโอกาสให้เราสามารถขับไปแก้ไขต่อไปได้
การเลือกซื้อล้อแม็ก จึงสำคัญมากนะครับ เพราะนั้นหมายถึงชีวิตของเราเลยอย่างตัวผมเอง รถที่ใช้อยู่ล้อแม็กเดิมๆ จากโรงงาน (ไม่นับที่ล้อแม็กดีๆ ราคาโหดไม่ใช่เล่น)
เพราะกว่าล้อแม็กโรงงานจะออกมาให้เราได้ใช้ก็ผ่านการตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบอีกแต่ก็นั่นแหละครับ ล้อแม็กติดรถ มักไม่สวยถูกใจเราหากท่านใดจะคิดจะเปลี่ยนล้อแม็ก อย่าลืมซื้อจากเจ้าที่เชื่อถือได้นะครับ
ทั้งนี้ ด้านผู้ประกอบการเจ้าของร้านล้อ/ยาง ก็ได้แสดงความคิดเห็นเล่าว่า.. "ล้อคุณภาพทั้งหลาย ยอดขายไม่ดีเท่าที่ควรเพราะลูกค้าส่วนใหญ่ จะพยายามหาล้อถูก โดยไม่สนที่มาของล้อหรือแหล่งผลิตใด ๆ ทั้งนั้นลายถูกใจ ใส่ได้ จบค่าต่าง ๆ ไม่สนใจกันเลยครับ ไม่ว่าจะค่าที่มองเห็นด้วยตาและค่าที่มองไม่เห็นด้วยตาเสี่ยงภัยกันไป ตามใจปรารถนาเกิดอะไรมา ก็โทษโชคชะตาฟ้าดิน"ผู้ประกอบการกล่าวฯ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : เหล็กไม่เอาถ่าน