กระจ่างชัด ภาพเก่า-ภาพจริง ของไต้ฝุ่น ฮากิบิสจ่อขึ้นฝั่งญี่ปุ่น
จากกรณีที่ญี่ปุ่นเตรียมรับมือพายุหมายเลข 19 "ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส" ที่มีความรุนแรงเทียบเท่าเฮอร์ริเคนระดับ 5 และกำลังจะพัดขึ้นฝั่งคันโต ทางตะวันออกของประเทศ ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ หลายเพจต่างแชร์ภาพถ่ายจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นดังกล่าวจนเกิดความเข้าใจผิด
ล่าสุดแฟนเพจ Spaceth.co ได้ให้ข้อมูลว่า หลายคนแชร์ภาพนี้บอกว่าเป็นภาพของไต้ฝุ่น ฮากิบิส (Hagibis) ที่ก้าวเข้าสู่ไต้ฝุ่นระดับ 5 และเตรียมพัดถล่มญี่ปุ่น แต่ภาพนี้ไม่ใช้ Hagibis เป็นภาพของ Trami ในปี 2018 ซึ่งเป็นไต้ฝุ่นในระดับเดียวกัน ภาพนี้ถ่ายโดยนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ชื่อ Alexander Gerst ไม่ได้ถ่ายจากดาวเทียม เนื่องจากจะเห็นชัดเจนว่าบริเวณด้านข้างมีส่วนโครงสร้างของสถานีอวกาศ และยานโซยุสปรากฎอยู่
ขณะเดียวกัน ได้มีการเปิดเผยภาพจริงๆ ของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส ซึ่งต้องบอกว่า น่ากลัวกว่าสิ่งที่ชาวเน็ตแชร์ผิดด้วยซ้ำ โดยทางเพจบอกว่า "ภาพถ่ายจริง ๆ ล่าสุดของ ฮากิบิส (Hagibis) ซึ่งใช้การถ่ายถึง 3 รอบวงโคจร (แสดงว่ามีขนาดใหญ่มาก)"
ตอนนี้ทางการญี่ปุ่น และ NOAA ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสภาพบรรยากาศและพื้นสมุทรของสหรัฐ กำลังใช้ดาวเทียมหลัก 2 ตัวได้แก่ Himawari 8 ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น และดาวเทียมร่วม Suomi NPP ของ NASA และ NOAA และได้ภาพถ่ายของพายุที่แท้จริงออกมาแล้ว โดย Process ร่วมกับ ดาวเทียม Worldview และ Earth Observing System Data and Information System (EOSDIS)
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : Spaceth.co