สรุปมาตรการเข้ม 14 วันของ ศบค.สั่งเปิด-ปิดร้านสะดวกซื้อเป็นเวลา
สรุป 5 มาตรการเข้ม 14 วัน ของ ศบค. จำกัดการเดินทางข้ามจว. ห้ามออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ขอให้ wfh ระบบขนส่งสาธารณะปิดเวลา 23.00-03.00 น. ร้านสะดวกซื้อ-ห้าง-สถานที่เสี่ยง
มีรายงานข่าวในที่ประชุม ศบค. เปิดเผยว่า เบื้องต้นที่ประชุมกำหนดระยะเวลายกระดับมาตรการ 14 วัน จำกัดการเดินทางตั้งแต่พรุ่งนี้ (10 ก.ค.)เป็นต้นไป โดยมีผลเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล 6 จังหวัด พร้อมกำหนดเป้าหมายลดผู้ป่วยภายใน 2-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้ขยาย พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน อีก 2 เดือน คือ ส.ค.-ก.ย.
ที่ประชุม ศบค. เห็นชอบตามข้อเสนอยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร)
ที่ประชุม ศบค. เห็นชอบตามข้อเสนอยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร)
โดยให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค ยึดหลักการ ดังนี้
1. จำกัดการเดินทางของประชาชนทั้งออกจากบ้านและข้ามจังหวัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
-ขอให้เวิร์คฟอร์มโฮม( WFH)ให้มากที่สุด ยกเว้นงานบริการประชาชนและงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค
-ขอความร่วมมือจากประชาชนงดการเดินทางโดยไม่จำเป็น ยกเว้นการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค การไปโรงพยาบาล ฉีดวัคซีนหรือมีความจำหรือมีความจำเป็นที่จะต้องออกไปทำงาน
-จำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด
-ขอความร่วมมือผู้ประกอบการลดการจัดบริการยานพาหนะของ ขนส่งสาธารณะที่ต้องเดินทางจากพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งบกและอากาศการขนส่งยกเว้นการขนส่งสินค้า
-ลดการรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน เช่นงดการจัดอบรด งดจัดประชุม งดจัดสอบหรือกลับเข้าสถานศึกษา
2.ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรค ได้แก่
-ปิดสถานที่เสี่ยงการติดโรคเช่นนวดแผนโบราณ ( ยกเว้นนวดเท้า) สปา สถานเสริมความงาม
-ร้านสะดวกซื้อปิดเวลา 21.00-04.00 น.
-ห้างสรรพสินค้าเปิดได้เฉพาะร้านอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค เช่นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ร้านเครื่องมือสื่อสาร ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ โดยเปิดได้จนถึงเวลา 21.00 น.
-ร้านอาหารเปิดขายได้แต่ห้ามบริโภคในร้าน ห้ามจำหน่ายสุราเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.
-ส่วนระบบขนส่งสาธารณะปิดเวลา 23.00-03.00 น.
-กำหนดเวลาปิดสวนสาธารณะ ในเวลา 21.00 น.
3.ปรับแผนการฉีดวัคซีนไปต่างจังหวัด และระดมการฉีดวัคซีนที่มีอยู่ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
4.ปรับระบบบริการบริการตรวจคัดกรองและรักษาพยาบาล ให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดเร่งเพิ่ม. บริการตรวจคัดกรองและปรับระบบการบริการรักษาพยาบาลโดยเร่งให้มีการจัดบริการแบบ โฮม ไอโซเรชั่น และคอมมูนิตี้ ไอโซเรชั่น ให้เหมาะสมและเพียงพอกับสถานการณ์และเชื่อมโยงกับหน่วย บริการปฐมภูมิ เช่น คลินิกบริการอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร โดยมี สปสช. ในการจัดบริการ รวมทั้งให้หน่วยบริการจัดช่องทางด่วนในการตรวจคัดกรองและรักษาให้กับกลุ่มผู้สูงอายุผู้มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง
5.เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐเอกชนภาคประชาสังคมและประชาชนในการป้องกันตนเองตรวจคัดกรองและดูแลรักษาพยาบาล
ดังนี้ขอความ ร่วมมือให้ประชาชนทุกคนเน้นมาตรการป้องกันส่วนบุคคลสวมหน้ากากอนามัยงดคบุกคลี ใกล้ชิดกันหรือรับประทานอาหารร่วมกันทั้งในบ้านและสถานที่ทำงาน , เน้นย้ำทุกหน่วยงานและผู้ประกอบการดำเนินการกำกับติดตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคลในสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน , สร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน ภาคประชาสังคมในการจัดบริการในการจัดบริการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาพยาบาล
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ที่มา : ข่าวสด