สาวโพสต์ถาม ทุเรียนจะสุกไหม หลังขนส่งทำก้านหัก
กลายเป็นอีกหนึ่งโมเม้นต์น่ารักๆ ของแม่ค้าทุเรียนมือใหม่ที่ส่งทุเรียนให้ลูกค้าแล้วเกิดปัญหาขนส่งทำก้านทุเรียนหัก เธอก็ไม่ได้นิ่งนอนใจรีบหาความรู้ในกลุ่มทุเรียนกลุ่มหนึ่ง โดยได้โพสต์ตั้งคำถามเล่าว่า..
"ส่งทุเรียนไปให้ลูกค้า ทางขนส่ง ปรากฎว่า ก้านทุเรียนหัก ตามภาพ อยากถามผู้รู้ ว่าทุเรียนจะมีโอกาส สุก มั้ยคะ ขอบคุณค่ะ"
โพสต์ดังกล่าว
ต่อมาก็มีชาวเน็ตเข้ามาแนะนำได้ดีมาก
ข้อแนะนำคือ : เวลาแพ็คลงกล่อง พยายามหันขั้วขึ้นด้านบนเสมอ อย่าหันขั้วลงด้านล่างให้มันชนก้นกล่อง เพราะความรุนแรงระหว่างการขนส่งมีสูงมาก การยก วาง กระแทก มันก็อาจจะทำให้ขั้วเราหัก ซึ่งมันจะทำให้การป้ายยานั้นเปล่าประโยชน์ไปทันที
และการหันขั้วขึ้นด้านบน หรือวางลูกในแนวเอียงๆ เพื่อให้ขั้วหลบพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระแทกนั้น ช่วยลดปัญหาขั้วหัก ร้าว เดาะ ไปได้ถึง 95%
ข้อแนะนำ 2 : ถ้าใครไม่ได้ซีเรียสว่า ทุเรียนจะต้องมีขั้วไว้ให้จับ หรือเอาไว้ดูเวลาปิงหลุด ก็ให้ตัดขั้วออกทิ้งไปเลย แล้วป้ายยา ตัดปัญหาไปเลย เพราะการดูว่าสุกหรือยังนั้น สามารถกรีดเปลือกดูเนื้อก็ได้ เคาะฟังเสียงก็ได้ อันนี้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ข้อดีของการตัดขั้วทิ้งแล้วป้ายยาคือ 1.ตัดปัญหาเรื่องขั้ว 2.ย่นระยะการเดินทางของยา ป้ายแล้วเข้าถึงลูกได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาผ่านขั้ว
สรุปได้ว่า สุกได้ตามปกติ แต่มันจะมีผลในกรณีที่ป้ายยา ซึ่งถ้าป้ายยาแล้วขั้วหัก มันจะไม่สามารถทำให้ยาซึมเข้าไปในลูกได้ หรือซึมได้ในระยะเวลาสั้นๆ หมายถึงว่า มันก็ซึมไปเรื่อยๆ จนถึงนาทีที่ขั้วหักแหละ และเราก็ไม่รู้ว่าขั้วมันหักตอนไหน ซึ่งยามันเข้าไปได้มากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ ถ้ายายังไม่ทันได้ซึมถึงข้างในลูก มันก็ทำให้ทุเรียนสุกช้าและสุกแบบไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งลูกแต่ก็ยังสามารถสุกได้เองตามธรรมชาติ แต่ต้องใช้เวลานานขึ้น อย่างไรก็ตาม ถือว่ายังเป็นแม่ค้าทุเรียนมือใหม่อาจจะยังไม่รู้ไม่ว่ากันนะครับ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : ลภัสรดา โพธิ์ศรีศิลป์