ไทยเพน เผยอันดับผักผลไม้มีสารตกค้างมากที่สุด
ในปีนี้ไทย-แพนมีการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้รวมทั้งหมด 33 ชนิด จาก 16 แหล่งจำหน่าย คือ ในห้างสรรพสินค้า 6 แห่ง ตลาดอีก 10 ตลาดใน 10 จังหวัด โดยเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ 29 กันยายนถึง 9 ตุลาคม 2563
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เผยผลสำรวจสารพิษตกค้างครั้งใหญ่ ผลไม้ 9 ชนิด ของแห้ง 2 ชนิด ผักไฮโดรโปนิกส์ 4 ชนิด ผัก 18 ชนิด
จาก 6 ห้างโมเดิร์นเทรด Gourmet Market , TOPs , Big C , Tesco Lotus , Makro , Villa Market และ 10 ตลาด ปากคลองตลาด (กทม.) , ตลาดบางใหญ่ (นนทบุรี) , ตลาดไท (ปทุมธานี) , ตลาดปฐมมงคล (นครปฐม) , ตลาดศรีเมือง (ราชบุรี) , กาดเมืองใหม่ (เชียงใหม่) , ตลาดศรีเมืองทอง (ขอนแก่น) , ตลาดศรีนคร (นครสวรรค์) ,ตลาดโบว์ลิ่ง (จันทบุรี) , ตลาดพลาซ่าหาดใหญ่ใน (สงขลา)
ตัวอย่างผักและผลไม้ทั้ง 33 ชนิด ได้แก่ ผลไม้ 9 ชนิด ของแห้ง 2 ชนิด (พริกแห้งและหอมแดงแห้ง) ผักไฮโดรโปนิกส์ 4 ชนิด ผักทั่วไป 18 ชนิด ซึ่งผลการตรวจที่สำคัญๆ พบว่า ผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานเอ็มอาร์แอล คือพุทราจีน และ องุ่นแดงนอก พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 100% ส่วนส้มสายน้ำผึ้งซึ่งเคยเป็นแชมป์เก่ามีสารพิษลดลงเหลือ 81% ขณะเดียวกันส้มโอคือผลไม้ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานเอ็มอาร์แอลเลย
ส่วนกลุ่มผัก อาทิ พริกแดง พบสารพิษตกค้าง 69 ชนิด พริกขี้หนู 26 ชนิด ผักชี 43 ชนิด บล็อกโคลี 18 ชนิด กระเพรา 24 ชนิด คะน้า 48 ชนิด ผักบุ้ง 16 ชนิด กวางตุ้ง 20 ทุกชนิด ขึ้นฉ่าย 86 ชนิด กระเจี๊ยบเขียว 6 ชนิด มะระ 17 ชนิด และเมื่อเรียงลำดับผักที่พบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน พบว่า ข้าวโพดหวานและมันฝรั่ง มีสารพิษไม่เกินค่ามาตรฐาน ขณะที่ผัก 4 ชนิดประกอบด้วย มะเขือเทศลูกเล็ก คะน้า ขึ้นฉ่าย พริกแดง และพริกขี้หนู มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 100%
พบร้อยละของตัวอย่างของแห้งที่พบสารพิษตกค้างเกินค่า MRL พริกแห้ง 88% , เห็ดหอมแห้ง 94%
ไทยเพน เผยอันดับผักผลไม้มีสารตกค้างเกินค่า MRL
ไทยเพน เผยอันดับผักผลไม้มีสารตกค้างเกินค่า MRL
ไทยเพน เผยอันดับผักผลไม้มีสารตกค้างเกินค่า MRL
ไทยเพน เผยอันดับผักผลไม้มีสารตกค้างเกินค่า MRL
MRLs ย่อมาจากคำว่า Maximun Residue Limits คือ ระดับปริมาณสารพิษซึ่งเป็นอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ (pesticides) สารพิษที่สร้างจากเชื้อรา (mycotoxin) ซึ่งตกค้างสูงสุดในอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ หน่วยของค่า MRLs มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (มก.) ของสารพิษตกค้างต่อกิโลกรัม (กก.) ของผลิตภัณฑ์อาหาร
ค่า MRLs ใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการค้าขายว่าจะต้องไม่มีปริมาณสารตกค้างของสารพิษตกค้าง โดยปกติจะกำหนดไว้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับความปลอดภัยของสารพิษตกค้างที่ร่างกายสามารถรับได้ในแต่ละวันตลอดชีวิต ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ค่า "เอดีไอ" (ADI: Acceptable Daily Intake) ดังนั้น ค่า เอ็มอาร์แอล (MRL) จึงไม่ใช่ค่าที่ชี้ถึงระดับความปลอดภัย แต่เป็นค่าที่ใช้ในทางการค้า
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : thaipan