กระจ่าง สาเหตุที่ไทยยังใช้ปลั๊กแบบแบนอยู่

เชื่อว่าคนไทยโดยส่วนใหญ่ ยังไม่รู้ว่าหัวปลั๊กไฟแบบไหนคือมาตรฐาน มอก. ของเราซึ่งตรงนี้สำคัญเพราะจริง ๆ แล้วในอนาคต มาตรฐาน มอก. จะต้องเข้มงวดกว่านี้ ดังนั้นเราเองก็จำเป็นต้องรู้ว่า "ปลั๊กไฟแบบ มอก. นั้นบ้านเราเป็นแบบไหนกันแน่
ล่าสุดเพจ "ปลั๊กไทย by มหาชะนี" เผยสาเหตุที่ไทยใช้ปลั๊กแบบแบน แต่ทั่วโลกใช้หัวกลมกันหมด เล่าว่า "ทุกครั้งเวลาโพสเกี่ยวกับที่ประเทศไทยใช้มาตรฐานหัวปลั๊ก Type O แบบเดียวในโลก จะต้องมีคนเม้นท์เสมอว่า "ขาแบนก็เสียบในบ้านเราได้" หรือ "ปลั๊กญี่ปุ่นกับไทยใช้แบบเดียวกัน" คือผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไง คิดเสียว่าเขาไม่รู้ แต่เรารู้ พอเรารู้ เราอยากอธิบายนะ แต่เขาก็ไม่ฟัง เพราะเขาบอกว่า "นี่ไงซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่นมาเสียบกับปลั๊กบ้านเราได้" คือเขาใช้ประสบการณ์ตัดสิน แต่ผมใช้ราชกิจจาและกฏหมาย มอก. มาตัดสิน ผมจะไล่ไทม์ไลน์แบบภาษาพูดเข้าใจง่าย ๆ แบบนี้ละกัน
- ประเทศไทยให้ฝรั่งมาวางรากฐานระบบไฟฟ้าให้ ตอนแรกใช้ไฟ 110V เฉพาะในเขตวัง ตอนหลังฝรั่งเดนมาร์กมาปรับเปลี่ยนให้เป็น 230V ใช้กันทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน
- ประเทศไทยไม่มี Know-How การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเลย ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มาจึงมีทั้งขากลมแบบยุโรปเยอรมัน ขาแบนแบบญี่ปุ่นหรืออเมริกา
- จนพอสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม แม่งวุ่นวายเลย พวกทหาร GI เอาหัวปลั๊กแบนมาใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าบ้านเราจึงผสมกันระหว่างหัวกลมและหัวแบน
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ทางมัตซึชิตะ (พานาโซนิค) ไปคิดมาว่า จะหาเต้ารับอะไรที่ใช้เสียบได้ทั้งขากลมและขาแบน จึงออกมาเป็นปลั๊กผนังในบ้านเรานี่แหละ ใช้เฉพาะแถบ SEA เพราะก็มีปัญหาแบบเดียวกัน
- จนปี 2549 ทาง สมอ. บอก บ้านเราเละเทะมานานเกินไปแล้ว มาตรฐานหัวปลั๊กและเต้ารับควรจะเหมือนกันทั้งประเทศ จึงกำหนดมาตรฐาน มอก.166-2549 (research.rid.go.th/vijais/moa/fulltext/TIS166-2549.pdf) ซึ่งเป็นปลั๊กแบบหัวกลม 2 ขา และ 3 ขา โดยเฉพาะแบบ 3 ขาเป็นแบบใหม่ล่าสุดในโลก ใช้ในไทยประเทศเดียว
- ทาง สมอ. พยายามบังคับใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ ๆ ให้เป็นหัวปลั๊ก มอก. 166-2549 ทั้งหมด โดยทยอย ๆๆ ไปเรื่อย ๆ ทีละอย่าง จนมาเปลี่ยนครั้งใหญ่ในปลั๊กพ่วง ที่เป็น มอก. 2432-2555
- 3-4 ปีหลังจะเห็นได้ว่า สมอ. เริ่มเขี้ยวมากขึ้น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องเปลี่ยนหัวปลั๊กเป็นแบบหัวกลม 166-2549 แล้ว ล่าสุดวันที่ 11 ที่ผ่านมา ห้ามจำหน่ายปลั๊กผนังแบบอื่น ๆ นอกเหนือจาก มอก. 166-2549 เท่านั้น
ส่วนเต้ารับหัวแบนนั้นมีเฉพาะประเทศเราและแถบ SEA ที่ใช้เต้ารับแบบนี้ และวันนึง สมอ.จะกำหนดมาตรฐานปลั๊ก และปลั๊กเราต้องเป็นหัวกลม เพราะประเทศที่ใช้ไฟ 230V ทั่วโลกก็ต้องใช้หัวกลม เลยทำปลั๊กหัวกลมให้เสียบกับเต้ารับนี้ได้ เพราะการจะเปลี่ยนเต้ารับนั้นมันยาก จนเป็นแบบใหม่ในโลกครับ
ปัจจุบันเต้ารับ 166-2549 เป็นเต้ารับ Hybrid แบบผนังบ้านเราครับ (ปลั๊กพานา) แต่สุดท้าย ในอนาคตอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน มอก. ใหม่หน้าตาเต้ารับที่ได้มาตรฐาน มอก. บ้านเราเป็นแบบนี้
คงจะหายสงสัยกันสักทีว่าทำไมบ้านเรายังใช้ปลั๊กแบบแบนอยู่ทั้งที่ไทยใช้มาตรฐานหัวปลั๊ก Type O ทาง สมอ. พยายามบังคับใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ ๆ ให้เป็นหัวปลั๊ก มอก. 166-2549 ทั้งหมด โดยทยอยไปเรื่อยๆ ล่าสุดวันที่ 11 ที่ผ่านมา ห้ามจำหน่ายปลั๊กผนังแบบอื่น ๆ นอกเหนือจาก มอก. 166-2549 เท่านั้น
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : ปลั๊กไทย by มหาชะนี