คุณแม่แบ่งปันประสบการณ์ เมื่อลูกโดนงูเขียวหางไหม้กัด
งูเขียวหางไหม้ เป็นงูที่จัดอยู่ในกลุ่มที่อันตรายต่อระบบโลหิต เมื่อถูกกัดได้รับปริมาณน้อย จะมีอาการปวดหรือบวมบริเวณที่ถูกกัดเท่านั้น การป้องกันการถูกงูกัดควรรักษาบริเวณบ้านให้สะอาด ไม่รกจากเศษอาหาร เนื่องจากเมื่อมีหนูเข้ามาอาศัย จะดึงดูดงูให้เข้ามาหากินหนูในบ้านด้วย
วันนี้ kaijeaw.in.th ขอเสนอวิธีปฎิบัติเมื่อโดนงูเขียวหางไหมกัดโดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อคุณ ออกมาแบ่งปันประสบการณ์โดนงูเขียวหางไหมกัดเล่าว่า..
เรื่องเล่า เมื่อคินคิน โดนงูเขียวหางไหม้กัด (ฝากให้คุณแม่ๆได้อ่านดู เผื่อไว้นะคะ)
คิน คินถูกงูเขียวหางไหม้ที่พันตัวอยู่ที่แฮนด์จักรยานกัด ตอนที่กำลังจะไปขี่จักรยานกลับบ้าน พอโดนกัด คิน คิน ก็ วิ่งมาบอกม้าคิน ว่า ม้า ม้า คินเจ็บ คินโดนงูกัด คินนิ่งและมีสติมาก แต่ที่บ้านก็ตกใจกันใหญ่ ผู้ใหญ่พากันวิ่งหาผ้าบ้าง วิ่งเอารถบ้าง ส่วนป๊าคิน ก็รีบวิ่งไปจับงู....
หลังจากขับรถออกมา ไปส่งโรงพยาบาล ก็คุยกันว่าต้องไป โรงพยาบาลศิริราช เพราะโรงพยาบาลพญาไท3 ไม่มีเซรุ่ม (รู้เพราะเคยพาอาม่าไปมาตอนโดนตัวอะไรกัดไม่รู้ ละเข้าใจว่าอาจเป็นงู) แต่ก็คิด กลัวว่าถ้าเข้าโรงพยาบาลศิริราชอาจจะช้าเพราะคนไข้อาจจะเยอะ เลยตัดสินใจขับไป ฉุกเฉินโรงพยาบาลปิยการุณ....สรุปโรงพยาบาลปิยการุณก็บอกให้ไปโรงพยาบาลศิริราชอยู่ดี
ไปถึง โรงพยาบาลศิริราชตึกอุบัติเหตุ หมอก็ให้คินนอน ดูอาการ พักใหญ่ๆ ใหญ่ๆเลย ก็มีหมอเดินเข้ามาถามเหตุการณ์ คินก็เล่าไป หมอก็ถามว่าถูกงูอะไรกัด เราก็แจ้งไปว่า ถูกงูเขียวกัด หมอก็ถามว่า งูเขียวหางไหม้ หรือ ไม่ไหม้ เพราะถ้าเป็นงูเขียวธรรมดาจะเป็นงูไม่มีพิษ ถ้าไม่รู้หมอ ก็ฉีดเซรุ่มให้ไม่ได้ เลยโทรถามป๊าคิน ที่ขับรถตามหลังมาพร้อมกับงู ถ่ายรูปส่งมาให้ดู เลยเห็นและ คอนเฟิร์มหมอได้ ว่าเป็นงูเขียวหางไหม้
หมอเลยแจ้งว่า งูเขียวเป็นงูที่พิษมีผลต่อเลือด เดี๋ยวจะเจาะเลือดตรวจดู ว่าผลเลือดและการแข็งตัวของเลือดเป็นยังไง แล้วก็อธิบายว่า ถ้าเป็นงูพิษจะต้องนอนโรงพยาบาลนะ เดี๋ยวหมอต้องเช็คเตียงก่อนว่ามีมั้ย แล้วหมอก็หายไปพักใหญ่ๆ ใหญ่มากๆหน่อย ระหว่างรอ มือคินก็บวมขึ้นเรื่อยๆ
แล้วก็มีคุณหมอเด็กมาดู แล้วก็บอกว่า รอดูอาการบวมของแผลและสีของแผล แล้วก็หายไปอีกพักใหญ่ๆ
คุณหมอคนแรกกลับมาบอกว่ามีเตียงนะ แล้วของคินต้องให้เซรุ่ม ซึ่งต้องรอหมอเด็ก กับหมอพิษวิทยาดูว่าจะต้องให้เมื่อไหร่ยังไง
คุณป้าหมอแมวของคินๆ ก็แวะมาช่วยดูคินด้วย คุยกันกับคุณหมอ เห็นว่า มือกับแขนของคินๆบวมมากจนเลือดไปเลี้ยงนิ้วไม่ได้แล้ว คุณหมอ ถึงตัดสินใจฉีดเซรุ่มแก้พิษงูเขียวหางไหม้ แล้วคุณหมอก็อธิบายถึงโอกาสที่จะแพ้เซรุ่มได้ แต่จะมียาแก้อยู่ข้างๆ สามารถใช้ได้ทันที
ระหว่างที่รอก็มีผู้หญิงอีกคนถูกเข็นเข้ามาเพราะโดนงูเขียวหางไหม้กัดเหมือนกันกับคินเลย แต่โดนที่ขา ไปโรงพยาบาลเกษมราษฎร์มาแล้วบอกให้มาที่ศิริราช
ตอนฉีดเซรุ่ม ต้องรอคุณหมอเด็กมาทำให้ แล้วพอให้เซรุ่มได้แปบเดียว คิน ก็ไอ แล้วก็บอกว่าคินหายใจไม่ออก คุณหมอเลยให้ญาติออกข้างนอกแล้ว ให้ยาแก้ สักพักคินก็ดีขึ้นแล้วบอกว่าคินหายใจได้แล้ว หมอจึงค่อยให้เซรุ่มต่อ จนครบ นอนสังเกตอาการ 6 ชั่วโมง มีการตรวจเลือดซ้ำ ว่าไม่เป็นไรแล้วจึงให้คินกลับบ้านได้ในวันถัดมา
จากเหตุการณ์นี้ทำให้รู้ว่า
1. ช่วงหน้าฝนต้องระวังงูให้มากขึ้น เพราะงูจะหนีน้ำมาที่แห้ง จะเดิน จะหยิบจับอะไรให้ดูดีๆ ก่อน (งูที่กัดคินก็คิดว่าน่าจะหนีน้ำมา เพราะฝนตกหนักมาก)
2.ควรสอนให้เด็กรู้จักงูและอันตรายของมัน จะได้ให้เค้าระวังตัวเองให้มากขึ้น ลองคิดดูถ้าคินไม่รู้ว่าสัตว์ที่กัดคืองู เอาแต่ร้องว่าเจ็บ เราจะไม่รู้แน่ๆ ว่าคินถูกงูกัด เพราะแผลมีรอยเขี้ยว แค่รูเดียว
3. ถ้าถูกงูกัด สติต้องมานะคะ สติ สติ ให้ดูว่างูอะไรกัด ถ้าจับไม่เป็น หรือจับไม่ได้ ก็ไม่ต้องจับนะคะ ให้ถ่ายรูปไว้ค่ะ สิ่งสำคัญคือ ต้องระบุชนิดงูที่กัดให้ได้ เพราะถ้าระบุชนิดงูไม่ได้ หมอก็ฉีดเซรุ่มให้ไม่ได้นะคะ ระบุผิดๆ มั่วๆ ก็อันตรายมากนะคะ ให้คนอื่นตามจับตามถ่ายรูปนะคะ ส่วนคนเจ็บกรุณารีบไปโรงพยาบาล
4. ถ้าถูกงูกัด ไม่ต้องดูดพิษ ไม่ต้องวิ่งหาผ้าขันฉะเนาะนะคะ เพราะไม่มีประโยชน์อันใด
5. ถ้าถูกงูกัด ให้ล้างแผลด้วยน้ำสบู่ เพื่อล้างพิษที่ปากแผลออกไป แล้วพยายามอย่าเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนที่ถูกกัด อาจทำการดามไว้เหมือนแขนหัก แต่ถ้าไม่มีอุปกรณ์ก็ไม่ต้องหาแค่อย่าขยับ
6. รีบไปหาหมอให้เร็วที่สุด ใน กทม เท่าที่รู้เบื้องต้นมี โรงพยาบาลศิริราช / โรงพยาบาลรามาธิบดี /โรงพยาบาลพระมงกุฎ / โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ / สถานเสาวภา / โรงพยาบาลกรุงเทพ / โรงพยาบาลพญาไท2 ......(อาจมีที่โรงพยาบาลอื่นอีก) ใกล้ที่ไหนให้ไปที่นั่น ไม่ต้องไปหาโรงพยาบาลอื่นใกล้บ้าน เพราะไม่มีเซรุ่ม (เดาว่าอาจเป็นเพราะโรงพยาบาลเล็กๆ ไม่มีคุณหมอเฉพาะทางด้านนี้ เซรุ่มต้องฉีดโดยคุณหมอเฉพาะทางนะคะ)
เพิ่มเติม โรงพยาบาลกลางมีเซรุ่มค่ะ
เพิ่มเติม โรงพยาบาลที่มีเซรุ่ม (รวมทั้งที่มีคนมาคอมเม้นท์ไว้ด้วยนะคะ) โรงพยาบาลเจ้าพระยา, โรงพยาบาลสำโรง, โรงพยาบาลปากน้ำ สมุทรปราการ, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ พุทธมณฑลสาย3
7. ไม่ต้องไปร้องโวยวาย ให้หมอรีบฉีดเซรุ่มนะคะ เพราะคุณหมอมีสเต็ปการเฝ้าระวังอาการคนไข้ อยู่แล้ว ขอแค่มีหมอ มีเซรุ่ม ก็เบาใจได้ในระดับหนึ่ง แล้วหล่ะ อีกอย่างที่ต้องรู้ก็คือ เซรุ่ม เป็นสารที่สกัดได้จากพลาสมาม้า ที่ได้รับพิษงูเข้าไป ผู้รับเซรุ่มอาจมีอาการแพ้เซรุ่มได้ แต่คุณหมอเค้าจะมียาแก้อยู่ข้างเตียงทุกครั้งอยู่แล้ว เพื่อรับมืออาการแพ้
8. เมื่อได้รับเซรุ่มจนกลับบ้านได้แล้ว แผล และอาการบวมมันยังไม่ได้หายไปซะทีเดียวนะคะ มันต้องอาศัยเวลา เซรุ่มไม่ได้รักษาแผลค่ะ
จักรยานเจ้ากรรม
มือคิน คิน ที่เริ่มบวม
แผลเขี้ยวงู นี่ขนาดโดนแค่รูเดียว.... พิษจะทำให้บริเวณรอบๆแผลดำและบวมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงได
มือที่อาการบวมลดลงหลังจากได้รับเซรุ่มเรียบร้อยแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติมจากคุณ Wanna Tantanawat ขอบคุณมากๆนะคะ
ขอบคุณ คุณหมอ และพยาบาลโรงพยาบาลศิริราชนะคะ เห็นแชร์กันหลายคน ขอชี้แจงนะคะว่า เรื่องและข้อมูลที่เขียนมาจากประสบการณ์ที่รู้มานะคะ อาจจะมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 100% นะคะ แต่เจตนาคือ แบ่งปันประสบการณ์ค่ะ
ทั้งนี้ ควรดูให้แน่ใจว่างูที่กัดเป็นงูอะไร พยายามจดจำ สี รูปร่าง ลักษณะศีรษะ ถ้าเป็นไปได้ ควรนำเอาตัวงู มาให้แพทย์ดูด้วย เพราะจะได้ทำการรักษาให้ตรงกับชนิดของงู (แต่ไม่ควรเสียเวลาตามงู) ใช้เชือกรัดเหนือบริเวณที่ถูกกัดเล็กน้อย ไม่ควรรัดแน่น เนื่องจากจะทำให้เนื้อบริเวณนั้นขาดเลือด และในบางส่วน เช่น นิ้ว ไม่ควรรัดบริเวณนิ้ว แต่ควรรัดบริเวณส่วนข้อมือ หรือข้อเท้าแทน ทั้งนี้ควรมีการคลายที่รัดๆ ทุก 15 นาที
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : Link Ruengpanyawhut