กระจ่าง สาเหตุที่ข้าวตราฉัตรซองสีน้ำเงิน แข็งจนกินไม่ได้

จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งชาวบ้านในพื้นที่ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต หอบหม้อหุงข้าว และข้าวสารที่ได้รับแจกเดินทางไปที่ อบต.ไม้ขาว เพื่อสอบถามถึงข้าวสารที่ได้รับแจกจากถุงยังชีพ และขอส่งคืนข้าวสารดังกล่าวจำนวนมาก โดยอ้างว่าหุงแล้วแข็ง กินไม่ได้
ล่าสุดเพจ ผู้บริโภค ออกมาพูดถึงสาเหตุที่ข้าวตราฉัตรซองสีน้ำเงิน แข็งจนกินไม่ได้ พร้อมข้อความระบุว่า.. เมื่อไม่นานมีข่าวเกี่ยวกับผู้รับบริจาคต่างเอาข้าวสารมาคืน เหตุเพราะข้าวแข็งเกินไป...ซึ่งข้าวที่ถูกส่งคืนก็คือข้าวตราฉัตรห่อสีน้ำเงินนั่นเอง
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าข้าวตราฉัตรที่อยู่ในห่อรับบริจาคนั้นเป็นแบบข้าวขาว 5% ซองสีน้ำเงิน (ข้าวขาว 5% คือข้าวที่มีข้าวหักปนอยู่ 5%)
โดยธรรมชาติหากคนที่กินข้าวหอมมะลิบ่อยๆ คงจะรู้สึกว่าข้าวแบบนี้แข็งอย่างแน่นอน ซึ่งก็ไม่ผิด
แต่ข้าวตราฉัตร ซองสีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในข้าวยอดนิยมที่ร้านใช้ทำข้าวผัด,ร้านข้าวขาหมูหรือร้านข้าวแกงก็มักจะใช้ข้าวประเภทนี้ เพราะมีความเป็นเม็ดและไม่แข็งจนเกินไปนั่นเอง(อยากนุ่มอีกนิดก็ใส่น้ำไปมากขึ้นอีกนิด)
ส่วนข้าวตราฉัตรก็มีหลายสูตรนะ หอมมะลิก็มี แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องมาทบทวนว่า คำว่าของบริจาคกันอีกที เพราะแน่นอนว่า อาจจะไม่ได้ข้าวที่คุณภาพดี อย่างที่เคยกิน แต่มันก็สามารถประทังชีวิตได้อยู่นั่นแหละ ใครเคยกิน ข้าวตราฉัตร มาคุยกันหน่อย ชอบไม่ชอบอย่างไร ?
ข้าวเจ้ามี 3 ประเภทหลักที่บ้านเรากินกัน คือ 1.ข้าวนิ่ม หอมมะลิเป็นต้น 2.ข้าวนิ่มปานกลาง เช่น หอมปทุม. จัสมิน. 3.ข้าวเข็ง เช่น ข้าว ตะกูล พิพิษณุโลก. สุพรรณบุรี. ชัยนาท เป็นต้น.
ทั้งนี้ ข้าวขาว 5% ก็อยู่ในประเภทที่ 3 ส่วนมากจะนำมาหุงสุกแล้วแปลรูปอีกรอบ เช่นข้าวผัด ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ หรือไม่ก็ร้านข้าวแกงจะใช้กันครับ. จริงๆแล้วข้าวบ้านเรามีหลายสายพันธุ์มากครับมีเป็นร้อย
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : ผู้บริโภค