7 เคล็ดลับ1.2ล้านบาทต่อเดือนกับยูทูปเบอร์ มาร์ก วีนส์
มาร์ก วีนส์ (Mark Wiens) คือนักเดินทาง นักเขียน บล็อกเกอร์ ยูทูเบอร์ และเหนือสิ่งอื่นใดเขาเป็นนักกินผู้ตกหลุมรักอาหารและวัฒนธรรมการกิน โดยเฉพาะอาหารไทย
หลายคนได้รายได้จากการเป็น YouTuber พวกเขาได้เงินเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว และทุกคนสามารถเป็นได้ ลองมาดู 7 วิธีคิด ผันตัวเองเป็น YouTuber รายได้ 1.2 ล้านบาทต่อเดือนของ YouTuber ชื่อดังคนนี้กัน Mark Wiens
มูลค่าเขาตอนนี้อยู่ที่ 20-60 ล้านบาท Channel Youtube เขา มีคนเข้าประมาน 1 ล้านคนต่อวัน เขาทำรายได้มหาศาลจากการโฆษณา Mark Wiens ทำได้ยังไง เคล็ดลับ ได้เงินจาก YouTube เดือนละ 1.2 ล้านบาท คืออะไร 7 เคล็ดลับนี้สามารถ adapt ใช้ได้กับทุกอาชีพเพื่อเป็นสุดยอดในสายงาน
ก่อนเขามาเมืองไทย ปี 2009 เขาเริ่มเปิด Blog ไปแล้ว blog เขาชื่อ Migrationology เป็นเวปไซต์พาท่องเที่ยว และ ก็กิน ไม่ใช่แค่เวปไซต์เที่ยวเร็วๆ แว่ปๆไปเที่ยวที่อื่นต่อแต่เป็นการเจาะลึกถึงขนาดเป็นส่วนนึงของสังคมนั้นเลย เหมือนประหนึ่งว่า คนที่อ่านนั้นได้เที่ยวไปกับเขาผ่านเวปไซต์
หลังจากได้ทำ blog เขาใช้ประสบการณ์ที่ได้เขียนมาทำ E-Book เล่มแรกที่เขาเขียนคือ The Eating Thai Food Guide ซึ่งกระแสตอบรับค่อนข้างดีเพราะเขามีฐานแฟนจาก blog อยู่แล้ว ถ้าคุณคิดว่า blogging คือการออกไปเที่ยว ออกไปกิน แล้วมาลงอัพ website หรือ social อันนั้นผิดถนัด มันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะมาก ทำคอนเทนต์ให้ดีก็แค่ 50% อีกครึ่งคือการทำ marketing
Wiens บอกว่า การทำเวปไซต์สมัยนั้น การเขียนของเขาจะประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 2 อย่าง
1. คืออธิบายเหมือนตัวเองอยู่ในสถานการณ์จริงเพื่อคนอ่านจะได้เข้าใจง่ายๆ
2. SEO คือ การให้ความสำคัญกับการ search เพื่อคนเซิจจะได้เห็นเวปไซต์เราในหน้าแรกๆ
เพราะสองจุดนี้ทำให้ website Migrationology มีคนเข้าเยอะมากๆๆ เมื่อเวปไซต์ติด Top 5 ในหน้าแรก รายได้จากค่าโฆษณาก็จะเข้ามาเอง และจริงๆแล้ว รายได้ที่ทำให้เขาไม่ต้องสอนหนังสือได้ คือ รายได้จาก E-Book เป็นหลักสำคัญเลยทีเดียว
7 เคล็ดลับ 1.2 ล้านบาท กับ YouTube
1. เลือกจุดประสงค์ให้ชัดเจน
วิดีโอเที่ยวและกิน มี 2 ประเภท Travel Vlogs และ Travel Guide
Travel Vlogs คือ วิดีโอที่ถ่ายทำแบบง่ายๆ casual ไม่ต้อง perfect มาก ถ่ายธรรมดา หรือไม่ก็ selfie ก็ได้ ถ่ายเสร็จไม่ต้อง edit ให้ perfect ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ข้อสำคัญที่สุดในการทำ Travel Vlogs คือ ความน่าเชื่อถือกับผู้ชม ผู้ชมจะได้เห็นนิสัยของเราจริงๆ และนั่นคือการเชื่อมความสัมพันธ์
Tips คือ พยายามเลือกจุดที่จะถ่ายให้ดี จะถ่ายสถานที่อะไร หรือ ร้านอาหารที่จะเข้าไปกิน
Travel Guide Video คือ วิดีโอที่แนะนำการท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่วิดีโอให้ผู้คนเห็น update ชีวิตของเราแต่ มันคือวิดีโอที่ทำให้ผู้ชมไปเที่ยวง่ายขึ้น และ มีอารมณ์อยากไปเที่ยวมากขึ้น เช่น “25 Things To Do in Tokyo” Video ชนิดนี้ต้องใช้ SEO และ ทำการ วางแผน ถ่ายวิดีโอแบบ footage และ edit ค่อนข้างมาก แต่มันคุ้มค่ากับผลที่ได้เหลือเกิน เพราะคนจะ search หามันเรื่อยๆ
2. ค้นหา หัวใจสำคัญที่สุดของสิ่งที่จะทำ
YouTuber หลายคนบอกว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “STORY” ลองนึกภาพตามคือ วิดีโอที่ภาพสวยมากมีเพลงเพราะๆเป็น background แต่หลังจากนั้น 1 นาทีเราก็เบื่อมัน และปิดมัน กับอีกวิดีโอนึง คนอธิบายตามวิดีโอไปเรื่อยๆ เปลี่ยนฉากไปเรื่อยๆ เพราะเราอยากรู้ว่าต่อไปจะเป็นอะไร อยู่ดีๆเวลาก็ผ่านไป 10 นาทีโดยเราไม่รู้ตัวเลย นี่คือความสำคัญของ Story
3. ความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ
โชว์หน้า หรือ ไม่โชว์ ใน YouTube
“เมื่อผู้ชม เห็นหน้าเรา เขาจะเห็นนิสัยของเราด้วย เมื่อนั่นแหละเขาจะ เชื่อมกับเราโดยทันที”
“เชื่อมที่ว่านี้ จะทำให้เขาเชื่อใจเรามากขึ้น”
“เราไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอกในวิดีโอนะ เราสลับเห็นหน้าบ้าง ถ่ายอาหารแล้วพูดข้างหลังบ้าง แบบนี้ดีที่สุด”
4. อาวุธดี
“เราเคยใช้ Canon 80D เป็นกล้องที่ดีมาก เป็นแบบ Auto Focus แต่มันค่อนข้างใหญ่ และ เทอะทะ แต่ตอนนี้เราเปลี่ยนมาใช้ กล้อง
LUMIX GX8: คุณภาพของรูปภาพ และ size มันดีมาก สิ่งที่ไม่ชอบอย่างเดียวคือ ต้องใช้ converter plug ต่อกล้องกับไมโครโฟน”
LUMIX 12 – 35 mm lens ใช้ควบคู่กับ GX8 film
RODE Video Mic Pro เสียงนับว่าส่วนสำคัญมากในวิดีโอ และ RODE Mic เก็บเสียงพูด และ เสียงบรรยากาศรอบๆได้ดีมาก
5. ฝึกให้ชำนาญ
ปกติเราจะตัดต่อวิดีโอ 4 steps
Introduction (10 secs) : เป็น 10 วินาทีที่สำคัญที่สุดของวิดีโอแล้ว ถ้าไม่สามารถทำให้ผู้ชม engage ได้เขาก็จะออกวิดีโอไป บอกสิ่งที่น่าสนใจ และ ในวิดีโอนี้เขาจะได้รับรู้อะไรบ้าง
Logo Brand (5 secs) : promote brand คร่าวๆ กับเสียงดนตรี 5 วินาที
Body of Video (3-8 mins) : สร้าง Story และ Content
End and Call to Action (10-15 secs) : ปิดท้ายวิดีโอด้วย call to action คือบอกให้คำทำอะไรต่อ “ส่วนใหญ่เราจะบอกให้เขา Thumbs up และ subscribe และวิธีที่ง่ายที่สุดที่ทำให้ผู้ชมทำตามคือ บอกให้เขาทำโต้งโต้งเลย หรือจะใช้ end card ตอน edit วิดีโอให้ผู้ชมเขา คลิ๊กก็ได้”
Software ที่ใช้ edit วิดีโอคือ Adobe Premiere ถ้าใน Mac จะใช้ Final Cut และ software ฟรีดีๆที่ใช้ได้ก็คือ Lightworks สิ่งที่สำคัญมากๆคือ เสียงบรรยากาศจากธรรมชาติ การได้ยินเสียงธรรมชาติในวิดีโอ ทำให้ผู้ชมคิดว่าเหมือนได้อยู่สถานที่นั้นจริงๆ ทำให่ประสบการณ์วิดีโอของเขาดีขึ้นมาก
6. Marketing ให้เข้าถึงลูกค้า
SEO on YouTube ทำไมต้องแคร์เรื่อง SEO ด้วย “ลองนึกดูว่า เรามี 2 คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้คำต่างกัน เช่น What to do in Bangkok? กับ Things to do in Bangkok? คุณคิดว่าอันไหนคนเซิจมากกว่ากัน และอันนั้นมีคนเซิจมากกว่า 10 เท่าเลยทีเดียว เราถึงต้องเลือก Keywords ให้ดี
Keyword Research : Keyword สำคัญมาก เป็นตัวชี้ชะตาว่า YouTube เราจะขึ้นโชว์หรือไม่ เราใช้ร่วมกับ Google Keyword Planner ได้ ตัวอย่างเช่น “Indonesian sate”
Video File : เราควรตั้งชื่อ Video ว่า Indonesian-sate.mp4 เพื่อให้ bot หา keyword นี้เจอ
Title : ชื่อพาดหัว file วิดีโอ YouTube ต้องให้ keyword อยู่ด้านหน้าสุดของ title เช่น “Indonesian Sate in Jakarta”
Description : ข้อความเพิ่มเติม เราจะใส่ Keyword ทุกๆ 100 คำของ description และใน Description box เราจะใส่ประมาน 500 คำ
Tags : ให้ keyword อยู่ใน Tag แรก หลังจากนั้นใส่ tag ที่คิดออกมั่วๆ ใกล้เคียงกันได้เลย เช่น Indonesian Satay, Sate Ayam
Advanced Setting: Extra setting มีอะไรใส่ไปให้หมด Youtube เขาอยากให้เราใส่ เราควรใส่ไปให้หมดเลย
Subtitles and Closed Captions: subtitle สำคัญมากใน Video แต่ถ้าอย่างเราผลิตวิดีโอเยอะมาก เราใส่เฉพาะอันที่สำคัญมากๆจริงๆ แต่ถ้าเป็นไปได้ให้ใส่ subtitle จะดีกว่า
Embed Video : นำ Video ใส่ใน Blog ของคุณ เพื่อทำ Backlink เหมือนใน website rank วิดีโอจะดีขึ้น
7. Consistent – สม่ำเสมอ และ มีวินัย
พยายามทำ Evergreen Content : หมายถึง Video ที่มี rank ดี และคนเซิจตลอด คนเซิจเจอตลอดจะทำให้ยอด Views ขึ้นมหาศาล และ มีคน subscribe เรื่อยๆ
Video Schedule : ลงวิดีโอ เวลาเดิม ของวันในอาทิตย์เดิมตลอด เช่นวันพุธ 2 ทุ่มทุกอาทิตย์ คิดว่า YouTube เหมือนรายการ T.V. คนที่ subscribe เราจะตามดูเราตลอด
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : Mark Wiens, Biography, YouTuber, Migrationology, us.youyuber, migration2