เช็คด่วนใครมีสิทธิ์ ขึ้นทะเบียนเกษตรกร รับเงิน15,000ต่อครัวเรือน
หลังจากกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอที่ประชุม ครม. อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร แก้ปัญหาวิกฤตภัยแล้ง รายละ 15,000 บาท จำนวน 9 ล้านครัวเรือน แต่จ่ายครั้งเดียว โดยจะยึดโยงข้อมูลที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนหน้านี้
และตรวจสอบกับฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส. โดยการจ่ายเงินให้กลุ่มเกษตรกรจะจ่ายเพียงรอบเดียว 15,000 บาท ต่างจากการจ่ายเยียวยา 5 พันบาทให้อาชีพอิสระที่จ่ายเป็นรายเดือนไป 3 เดือนก่อนจะขยายออกไปภายหลัง
ส่วนการจ่ายเงินเยียวยานั้น จะให้ใคร แล้วใครบ้างจะเป็นคนได้รับสิทธิ์นี้บ้าง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ได้รวบรวมข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้มีการเผยแพร่หลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติของ เกษตรกร ไว้อย่างละเอียด ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1.1 ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพรองก็ได้
1.2 ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ในการพิจารณาว่าครัวเรือนใดขอขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดให้เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนรับทราบ ตามนิยามที่กำหนด
1.3 เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคลจะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน
2. สถานที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
2.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม สามารถแจ้งปรับปรุงได้ที่
- สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุน ที่เกษตรรกมีพื้นที่การเกษตรอยู่
- อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)
- กรณีใช้โทรศัพท์มือถือ (Smartphone) เกษตรกรสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน DOAE Farmbook Application ได้ด้วยตนเอง
2.2 เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่
- ให้ยื่นเอกสารที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรอยู่ หากมีแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอำเภอ ให้ยื่นที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงหลัก
(อำเภอที่มีจำนวนแปลงมากที่สุด)
กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่สามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายใหม่ในพื้นที่ พร้อมวาดผังแปลงไปพร้อมๆ กันในคราวเดียวได้ (เฉพาะพื้นที่ที่มี Internet)
3. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
3.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ใช้บัตรประจำตัวประชาขนตัวจริง
3.2 เกษตรกรรายใหม่ หรือ รายเดิม เพิ่มแปลงใหม่ ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองสำเนาจากผู้ครอบครอง
ทั้งนี้ สามารถเรียกหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
4. การขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดำเนินการได้ทั้งในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์
5. การขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดำเนินการได้ทุกลักษณะการถือครองที่ดิน ได้แก่ ของครัวเรือน เช่า อื่นๆ (ทำฟรีที่สาธารณประโยชน์)
6. การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน
6.1 ครัวเรือนเกษตรกรสามารถมอบอำนาจให้สมาชิกในครัวเรือนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกรเดียวกัน เป็นผู้ขอปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแทนได้ แต่หากเป็นเกษตรกรที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนใหม่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยตนเอง
6.2 นิติบุคคล สามารถมอบอำนาจให้ผู้แทนขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้
7. เจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียนจะต้องย้ำให้เกษตรกรทราบว่าต้องแจ้งข้อมูลและกรอกข้อมูลในแบบคำร้องให้สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริง พร้อมลงลายมือชื่อรับรองข้อมูล ในแบบคำร้องด้วย
สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนใหม่ ต้องมีผู้นำชุมชน (รายละเอียดตามคำนิยาม) ลงลายมือชื่อพร้อมระบุตำแหน่ง เป็นพยานการให้ข้อมูล
นิยามศัพท์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
1. เกษตรกร หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ประกอบการเกษตร หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตร และได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนตามระเบียบฯ
2. ครัวเรือน หมายถึง บุคคลเดียว หรือหลายคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหรือสถานที่อยู่เดียวกันและจัดหาหรือใช้สิ่งอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกันในฐานทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อถูกนำไปใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือตามมาตรการภาครัฐต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน ทำกับ 1 ครัวเรือน
3. ครัวเรือนเกษตร หมายถึง บุคคลในครัวเรือนคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนที่ประกอบการเกษตร
4. ประกอบการเกษตร หมายถึง การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำนาเกลือสมุทร การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และเกษตรอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายหรือใช้งานในฟาร์ม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันดังต่อไปนี้
1) การทำนาหรือทำไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ รวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
2) การปลูกผัก หรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือ การเพาะเห็ด หรือการปลูกพืชอาหารสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งงานขึ้นไป
3) การปลูกไม้ผลไม้ยืนตัน หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่และมีจำนวนต้นตั้งแต่สิบห้าขึ้นไป
4) การปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนตันแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่
และมีจำนวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
5) การเลี้ยงแม่โคนม ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
6) การเลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป
7) การเลี้ยงสุก แพะ หรือแกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ห้าตัวขึ้นไป
8) การเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ห้าสิบตัวขึ้นไป
9) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
10) การทำนาเกลือสมุทร บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
11) การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
12) การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ หมายความว่า การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง ครั่ง
จิ้งหรีด ด้วงสาดู ไส้เดือนดิน ชีวภัณฑ์ และอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
13) ประกอบการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม ) ถึง 12) และมีรายได้ตั้งแต่แปดพันบาทต่อปีขึ้นไป
5.นิติบุคคล หมายถึง นิติบดคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตรและได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
ตามระเบียบๆ
6.ผู้ขอขึ้นทะเบียน หมายถึง (บุคคลธรรมดา) ซึ่งประกอบการเกษตรและเป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรในนามครัวเรือน (2) บุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจของนิติบุคคลให้เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรในนามนิติบุคคล ครัวเรือนเกษตรกรหรือนิติบุคคลหนึ่งให้มีผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หนึ่งคนเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการที่ให้เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนทางแอพพลิเคชั่น ถือเป็นการปรับปรุงการทำงานที่อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร โดยที่เกษตรกรไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานเกษตรในพื้นที่ โดยไม่ต้องเปลืองค่าเดินทาง แต่ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องปรับตัวตามให้ทันด้วยเช่นกัน ซึ่งกรมจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้างในกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบางส่วน
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th