พี่เลี้ยงเด็ก ถูกเจ้านายเบี้ยวค่าจ้าง 16,000 โทรขู่อยากได้ให้ไปฟ้องศาล

เมื่อวันที่ 11 เม.ย.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งซึ่งเป็นน้องสาวของพี่เลี้ยงเด็กโพสต์ ข้อความเล่าว่า..อยากสอบถามค่ะ พอดีพี่สาวทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ตอนนี้ออกจากงานแล้วแต่เจ้านายไม่ยอมจ่ายเงินเดือนให้ ต้องทำยังไงดีค่ะ อดีตเจ้านายของพี่สาวเป็นคนมีตังค่ะ
เมื่อวานพี่สาวเราทักไปตามรูปที่ลง เวลาต่อมาเขาได้ออกจากกลุ่มไลน์ เมื่อเช้าสามีเขาโทรมาหาพี่สาวเรา บอกว่าอยากได้ตังให้ไปฟ้องศาลเอาเอง แล้วเขาว่าแล้วค่อยดูว่าคนเขาจะเชื่อใครมากกว่ากัน
พี่สาวเราแค่อยากได้เงินค่าแรงที่เขาทำงานให้เขาเอง เงินตั้ง 16000 เขายังบอกอีก ว่าภรรยาของเขาไม่อยากยุ่งเรื่องนี้รกสมอง(เราเจ็บใจคำพูดเขามากๆ) ตอนนี้พี่สาวเครียดมากค่ะ เงินไม่มีใช้ โทรมาเอาแต่ร้องไห้ เราสงสารมาก ไม่รู้จะทำยังไง
ความคิดเห็นชาวเน็ต
เจ้าของโพสต์ขอบคุณ
เป็นกำลังใจให้ครับ
เมื่อนายจ้างกระทำผิดหน้าที่โดยไม่จ่ายค่าจ้างเงินเดือนตามเวลาที่กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทินหรือเมื่อถึงเวลาจ่ายอื่นๆ ถือว่านายจ้างผิดนัดชำระหนี้ (มาตรา 204 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ซึ่งลูกจ้างสามารถ กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้นายจ้างชำระหนี้หากยังไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดดังกล่าว ลูกจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ (มาตรา 387)
กรณีนี้เป็นกรณีที่นายจ้างผิดหน้าที่หลักในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งทำให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ย ตามอัตราร้อยละ 7 ต่อปี(มาตรา 224 ) หรืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี กรณีเป็นนายจ้างที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย นอกจากนั้นยังอาจต้องรับผิดในเงินเพิ่มตามกฎหมายร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วัน นับแต่วันผิดนัด หากนายจ้างจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุอันสมควร (มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541)
ทั้งนี้ สามารถโทรแจ้ง 1506 สายด่วนแรงงานไปแรงงานจังหวัดในพื้นที่ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนถ้ายังไม่จ่าย ร้องส่วนกลางที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะมีจนท.ให้คำแนะนำทุกหน่วยที่เข้าไปติดต่อ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th