ผลไม้ไทยอ่วม ทุเรียน-มังคุด-ลำไย ไร้ออเดอร์จากประเทศคู่ค้า
มช.เกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอของบกลางสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินเพื่อยกระดับราคาและปรับสมดุลราคาผลไม้ให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งขณะนี้ไม่มีออร์เดอร์จากประเทศคู่ค้า จีน ฮ่องกง และเวียดนาม
เมื่อวันที่ 3 มี.ค 63 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ เตรียมเสนอของบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ ศ 2563 วงเงิน 414 จุด 20 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อน โครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้ของสถาบันเกษตรเพื่อรองรับผลกระทบ
เพื่อยกระดับราคาและปรับสมดุลราคาผลไม้ให้เป็นไปตามกลไกตลาดหลังมีข่าวในประเทศจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลไม้ ทั้ง ทุเรียน มังคุดและลำไย ที่ขณะนี้ไม่มีออร์เดอร์จากประเทศคู่ค้า จีน ฮ่องกง และเวียดนาม ที่เป็นตลาดส่งออกของผลไม้ไทยที่มีสัดส่วนมากกว่า 80 เปอร์เซ็น ของผลผลิตผลไม้ไทยทั่วประเทศ
ทั้งนี้ โครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้ของสถาบันเกษตรเพื่อรองรับผลกระทบ เป็นโครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้ของสถาบันเกษตรกร เพื่อให้การระบายผลผลิตออกจากพื้นที่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ป้องกันปัญหาผลไม้กระจุกตัวและล้นตลาด ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ทั่วประเทศถึงผู้บริโภค ในราคาที่เป็นธรรม โดยจะสหกรณ์ที่เป็นแหล่งผลิตผลไม้รวบรวมและกระจายผลผลิตส่งขายให้กับสหกรณ์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าและสหกรณ์ขนาดใหญ่ทุกอำเภอทั่วประเทศ ช่วงระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน ตั้งแต่เดือน เมษายนถึง ก.ย. เบื้องต้นตั้งเป้าหมายในการกระจายผลไม้ผ่านระบบสหกรณ์ 80000 ตัน แบ่งเป็น ทุเรียน 40000 ตัน มังคุด 20000 ตัน และลำไย 20000 ตัน
สำหรับเงินอุดหนุน วงเงิน 414 จุด 20 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าบริหารจัดการ 80 ล้านบาท ค่าขนส่ง 160 ล้านบาท ค่าบรรจุภัณฑ์ 85 ล้านบาท และจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ ในจังหวัดใหญ่ อาทิ นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ สงขลา สุราษฎร์ธานี กรุงเทพฯ เป็นต้น รวม 16 จังหวัด วงเงิน จังหวัดละ 500000 บาท รวมเป็นเงิน 49จุด20 ล้านบาท และระดับอำเภอรวม 824 อำเภอ ละ 50000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 41จุด20 ล้านบาท
งบกลางที่จะมาช่วยเหลือจะช่วยเหลือสหกรณ์ต้นทางใช้เป็นค่าบริหารจัดการผลไม้ กิโลกรัมละ 1 บาท ค่าขนส่ง จากแหล่งรวบรวมไปสหกรณ์ปลายทาง กิโลกรัมละ 2 บาท ค่าจัดซื้อบรรจุภัณฑ์ เช่น ตะกร้า กล่อง จำนวน 3จุด5 ล้านใบ หรือประมาณค่าตะกร้าขนาด 10 กิโลกรัม ประมาณ 35 บาทต่อใบ และค่าบริหารจัดการของสหกรณ์ปลายทางเพื่อกระจายผลไม้สู่ผู้บริโภคในพื้นที่ กิโลกรัมละ 0จุด50 บาท และหากให้ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจให้สมาชิกสหกรณ์ 68679 รายมีรายได้เพิ่ม 11512 บาทต่อราย มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 7644 ล้านบาทคิดเป็น 18จุด45 เท่าของเงินลงทุนรัฐบาล โดยโครงการนี้จะกระทรวงเกษตรฯ จะหารือกันอีกครั้งในคณะกรรมการนโยบายเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 4 มี ค ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป
สำหรับ ปี 2563 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาด รวม 3072591 ตัน โดยแบ่งเป็น ทุเรียน ลำไย มังคุด เงาะ ลองกอง และลิ้นจี่ และเมื่อนำผลผลิต 3 ชนิดสำคัญ คือ ทุเรียน ลำไย มังคุดรวมกัน จะมีปริมาณมากกว่า 84 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณผลไม้ทั้งประเทศ ซึ่งหากไม่มีมาตรการรองรับ ผลผลิตที่ไม่สามารถส่งออกได้จะกระจุกตัวกลับมาสู่ตลาดในประเทศ ส่งผลทำให้ผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำและเกษตรกรประสบปัญหาขาดทุน
ขณะเดียวกัน มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมผลไม้ 104 แห่ง ใน 31 จังหวัด มีเกษตรกรเป็นสมาชิก 95321 ราย ปริมาณการรวบรวมผลไม้ ในปี 2562 ที่ผ่านมา 32242จุด53 ตัน มูลค่า 966จุด173 ล้านบาท และมีการส่งออกผลผลิตทุเรียน มังคุด และลำไย ไปประเทศจีน 12251จุด16 ตัน มูลค่า 572จุด45 ล้านบาท