ภาพล่าสุดสถานีกลางบางซื่อ รองรับผู้โดยสาร 3 แสนคนต่อวัน
สถานีกลางบางซื่อคืบ 80% รับผู้โดยสาร 3 แสนคน/วัน ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟความเร็วสูง จำนวน 10 ชานชาลา 10 ปี 4 รัฐบาล
หลายคนที่ใช้ทางด่วนขั้นที่ 2 หรือนั่งรถไฟผ่านสถานีบางซื่อ คงกำลังสงสัยว่า สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มหึมา ในพื้นที่ 400 ไร่ ย่านจตุจักร -บางซื่อ ทีสร้างมานานหลายปีคืออะไร มาดูภาพใหม่ของสถานีแห่งนี้กัน
ล่าสุดวันนี้ มีป้ายขึ้นชัดเจนแล้วว่าคือ "สถานีกลางบางซื่อ" เป็นสถานีรถไฟที่จะมาแทนที่หัวลำโพง
ทีนี้คงร้องอ๋อ แต่อาจจะยังคงงงๆ และไม่เข้าใจอยู่ดีว่าแล้วมันสำคัญอย่างไรทำไมถึงใหญ่ขนาดน้านน
สถานีกลางบางซื่อนี้เริ่มมาแล้ว 10 ปี 4 รัฐบาล ตั้งแต่สมัยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2553 ผ่านยุคยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, รัฐบาล คสช. และยุคปัจจุบันที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
มีช่วงหยุดชงักเพราะเปลี่ยนรัฐบาล และมีการปรับแบบหลายครั้งจนเริ่มทำการก่อสร้างได้จริงๆเมื่อปี 2556 กำหนดแล้วเสร็จปี 2564
สถานีกลางบางซื่อมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 274,192 ตารางเมตร
ตัวอาคาร 4 ชั้น ประกอบด้วย
ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน
ชั้นที่ 1 พื้นที่จำหน่ายตั๋ว ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร สำนักงาน พื้นที่พักคอย และรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT
ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง และรถไฟทางไกล) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา
ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็น รถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา
นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่ง(สุวรรณภูมิ ,ดอนเมือง,อู่ตะเภา) ได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย
สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่คาดว่าจะเปิดบริการได้ในต้นปี 64 นั้น ในส่วนงานโยธาประกอบด้วย ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน 8 สถานี ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำ มีความคืบหน้ารวมคิดเป็นร้อยละ 100
สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน
การรถไฟแห่งประเทศไทยเคยระบุว่า เมื่อแล้วเสร็จสถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีมาตรฐานเทียบเท่าสถานีกลางต่างๆ ทั่วโลกและในอนาคตจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางของเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในภาคพื้นดินกับประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) รวมถึงประเทศจีนและสิงคโปร์
*** สำหรับสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ยังไม่ได้หายไปไหน ยังมีขบวนรถบางสายมาใช้ และพื้นที่บางส่วนจะกลายเป็นเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ด้านประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ
นับวันถอยหลังดูสิ่งดีดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในย่านบางซื่อ ส่วนในปีหน้านั้นขบวนรถสายไหนที่จะย้ายมาอยุ่สถานีใหม่ และมีสายใหม่ๆที่จะเชื่อมต่อกันได้แล้วบ้าง ทางรฟท.คงทยอยประกาศตามมา ปู๊นๆ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : Marketeer Online