นายจ้างประกาศว่า ห้ามลาป่วยก่อนหรือหลังวันหยุด
ลูกจ้าง-มนุษย์เงินเดือนบางบริษัทห้ามพนักงานลาป่วยต่อเนื่องวันหยุดหรือลาต่อเนื่องช่วงปีใหม่เทศกาลต่างๆ หากลาป่วยจะต้องมีใบรับรองแพทย์ทุกกรณีหากไม่มีใบรับรองแทพย์จะหักค่าจ้าง
มีปัญหาว่าประกาศของนายจ้างลักษณะนี้มีผลอย่างไร
๑) หลักการคือ กฎหมายแรงงานบัญญัติว่าลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง
๒) การลาป่วย ๑ หรือ ๒ วัน กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ได้
๓) หากลาป่วยตั้งแต่ ๓ วัน นายจ้างขอใบรับรองแทพย์ได้ หากลูกจ้างไม่มีใบรับรองแทพย์ก็อาจหาหลักฐานอื่นๆ ได้ เช่นภาพถ่ายบาดแผล ภาพถ่ายผิดหนัง ดวงตา ยา ใบเสร็จซื้อยา พยานบุคคล ก็ได้
๔) ดังนั้น หากลูกจ้าง "ป่วยจริง" และเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องกับวันหยุด หรือเรียกว่า "ลาปิดหัวปิดท้ายวันหยุด" ลูกจ้างก็สามารถลาได้ ย้ำว่า "ถ้าป่วยจริง"
๕) หากลาก่อนหรือหลังวันหยุดดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประกาศของนายจ้าง นายจ้างจะหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดได้หรือไม่ คำตอบคือ หักไม่ได้
เพราะกฎหมายห้ามหักค่าจ้าง
๖) กฎหมายมุ่งคุ้มครองลูกจ้างผู้สุจริต มิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน
ถ้ากรณีดังกล่าวหากลูกจ้างลาป่วยเท็จ นายจ้างสามารถสอบสวนว่ากรณีดังกล่าวเป็นการลาป่วยเท็จหรือไม่ได้
แม้นายจ้างจะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าลูกจ้างลาป่วยเท็จ แต่ลูกจ้างก็อาจทำงานโดยไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากนายจ้าง
๗) หากพบว่าลูกจ้างลาป่วยเท็จจริง และมีเวลาเกินกว่า ๓ วันนายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
๘) ประกาศดังกล่าวของนายจ้างจึงมีผลเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อกฎหมาย
ดังนั้น หากลูกจ้าง "ป่วยจริง" และเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องกับวันหยุด หรือเรียกว่า "ลาปิดหัวปิดท้ายวันหยุด" ลูกจ้างก็สามารถลาได้ ย้ำว่า "ถ้าป่วยจริง" หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เพจ กฎหมายแรงงาน
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : กฎหมายแรงงาน