เปิดไฟเลี้ยงข้างเดียวค้างไว้ ฟังก์ชั่นที่คนไทยไม่ค่อยใช้ และหลายคนไม่รู้
![](https://kaijeaw.in.th/wp-content/uploads/2020/01/Untitled-1-41-1024x512.jpg)
ในการขับขี่รถบนท้องถนน นอกจากเราจะต้องรู้ถึงกฎจราจร ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องทราบคือ การให้สัญญาณไฟจากรถคันอื่นๆ ทั้งไฟสูงไฟต่ำที่กระพริบใส่กัน รวมไปถึงสัญญาณจากไฟเลี้ยวและไฟฉุกเฉินต่างๆ
วันนี้เรามีความรู้ดีๆมาฝาก กันฟังก์ชั่นการใช้งานไฟเลี้ยว แบบเปิดค้างไว้ข้างเดียว ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะใช้ และหลายคนไม่รู้ความหมาย โดยเฟซบุ๊กเพจ Part DECO ได้ระบุว่า
"Function ที่คนไทยไม่ใช้?!?!?! (ไม่ได้หมายถึงไฟเลี้ยว 555) มีเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นที่ผมเห็นคนใช้ function นี้บนถนนเมืองไทย ในบางประเทศ การใช้งานสิ่งนี้ถือว่าจำเป็นระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนก็มีระบบนี้ และมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในรถหลายคัน บางครั้งรัฐบาลใช้โปรโมทการใช้ถนนอย่างปลอดภัยด้วย Function ที่ว่าคือ Roadside Parking Lights (ไฟจอดข้างทาง)
สำหรับคนทั่วไป เห็นคำว่า parking และ light ก็คิดไปในทางเดียวคือ ไฟฉุกเฉิน (ไฟกระพริบ) ซึ่งแตกต่างกัน หน้าที่ของ function นี้คือ เปิดไฟเวลาจอดข้างทาง โดยไฟจะเปิด “ข้างเดียว” ทั้งหน้า และหลังแบบเปิดค้างไว้ ไม่กระพริบ เพื่อให้รถที่ขับผ่านเห็นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในจุดที่เสี่ยงต่ออันตราย มันคือ “ของแปลก” สำหรับเรา?
เรื่องตลกก็คือ ไม่เคยมีใครเดินเข้ามาทักผมเลยว่า รถสวยนะ หรือ ขับดีมั๊ย, ไม่ว่ารถผมคันนั้นจะหล่อแค่ไหน (คิดเอาเอง 555) แต่เมื่อใดที่ผมจอดข้างทางเพื่อกินก๋วยเตี๋ยว หรือ เข้าร้านสะดวกซื้อ แล้วเปิดไอ้ไฟนี้ละก็, ไม่เป็นแม่ค้า ก็วินมอไซค์ ต้องบอกผมว่า “น้องๆ ลืมปิดไฟรถ” หรือไม่ก็ “ไฟรถเสียรึป่าว”
สำหรับท่านที่เคยใช้ก็แนะนำให้ใช้ต่อไปสำหรับท่านที่ไม่เคยใช้ เรานำขั้นตอนการเปิดมาแนะนำ ตัวอย่างที่ใช้คือ รถ BMW ส่วนใหญ่จะใช้งานจะคล้ายๆกัน ยกเว้น บางคันจะมีปุ่มแยกมาต่างหากเป็นรูปตัว P มีหนวดแมว 3 เส้น (แต่ละยี่ห้อมีวิธีการเปิดที่แตกต่างกัน)
เริ่ม! เมื่อเราจอดข้างทางในจุดที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น จอดเรียบถนนด้านซ้าย
1. ดับเครื่องยนต์ (กด stop 2 ที เพื่อดับเครื่องยนต์ และ i-drive)
2. ยกไฟเลี้ยวขึ้นหรือลงจนสุด แล้วค้างไว้ ในที่นี้เราจะเปิดไฟด้านขวาไว้ ดังนั้นเราจะยกด้านไฟเลี้ยวขึ้นสุดแล้วค้างไว้ 2 วินาที
3. ตอนนี้ไฟจะเปิดแล้ว และจะมีข้อความขึ้นที่หน้าปัดว่า Parking Lights On
***ถ้าไม่มีข้อความขึ้นไม่ต้องตกใจ บางคันถูกเซ็ตให้ข้อความขึ้นตอนคุณเปิดประตูรถ พร้อมเสียงเตือน แต่ไม่ว่าจะแบบไหน ไฟจะติดตั้งแต่คุณยกก้านไฟเลี้ยวแล้ว
4. ออกจากรถ ปิดประตู ล็อกรถ จะพับกระจกข้าง หรือ ส่องกระจกจัดผมก็ว่าไป เป็นอันเสร็จขั้นตอน
5. เมื่อกลับมายังรถ เราก็เพียงโยกก้านไฟยังตำแหน่งตรงข้าม (ในที่นี้ คือ ดันลง) ไฟก็จะดับ
—เปิดไฟแล้วมันกินไฟหรือไม่?!?!?—เปิดไฟมันต้องกินไฟเป็นธรรมดา แต่ระบบจะใช้กระแสที่ต่ำ ใช้ไฟน้อยแต่ถ้ารถคันไหนมีไฟในแบตที่ต่ำ ระบบจะไม่ให้ฟังชั่นนี้ทำงาน หรือ ปิดเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ใช่ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มากเกินไปจนสตาร์ทรถไม่ได้ ผมเคยทดลองเปิด(แบบไม่ตั้งใจ) ไว้ตั้งแต่เที่ยงคืน จนถึง 7 โมงเช้า (7 ชั่วโมง) รถก็ใช้งานได้ปกติ ไม่มีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม มันขึ้นกับบางปัจจัยเช่น
1.แบตเตอรี่ถูกชาร์จมามากน้อยแค่ไหน (ก่อนจอด ขับมาด้วยระยะทางระดับหนึ่ง แบตก็ชาร์จได้มาก)
2.อายุของแบตเตอรี่
2-4 ชั่วโมง ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับรถที่ใช้งานทั่วไป แต่ทั่วไปเรามักจะจอดข้างทางเพียง 0.5 -1.5 ชั่วโมงเป็นส่วนใหญ่ Function นี้ นอกจากจะช่วยให้การใช้ถนนของคนที่แชร์ถนนกับเราง่ายขึ้น แต่ยังป้องกันการสูญเสียต่อเราและผู้อื่นด้วย"
เชื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หลายคนคงเปิดแค่ไฟฉุกเฉิน เพราะไม่รู้ว่ามีฟังก์ชั่นนี้ด้วย หากใครเจอผู้คนเปิดไฟเลี้ยวค้างไว้เช่นนี้ก็จะได้หายสงสัยและเข้าใจความหมายค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.in.th, ขอขอบคุณที่มาจาก : Part DECO