สองสามีข้าราชการ เล่าวิธีแบ่งเงินเก็บในแบบฉบับครอบครัว
![](https://kaijeaw.in.th/wp-content/uploads/2019/12/เงินออม-1-1024x512.jpg)
คุณ tualektuanoi สมาชิกเว็บไซต์พันทิปได้ออกมาโพสต์แชร์วิธีการออมเงิน หลังจากแต่งงาน โดยระบุว่า 'เรื่องเล่าบ้านสวน การเก็บออม และการลงทุน ปี 2562' สวัสดีค่ะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว pantip วันนี้มาบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตปี 2562 ในส่วนของการลงทุนและการออม เนื่องจากปีนี้ได้ฤกษ์ยามดีแต่งงาน มีครอบครัว จะต้องใช้ชีวิตยังไง วางแผนการเงินครอบครัวอย่างไร หลังจากหลายปีที่ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ อยากเที่ยวไหนก็ไป อยากกินอะไรก็กิน อยากได้อะไรก็ต้องได้ เงินเก็บแทบไม่มี ก็ถือว่าใช้ชีวิตอย่างมีความสุข จนในปีนี้แต่งงาน เลยเริ่มคิดจริงจังในการเก็บออมและลงทุน โดยอาศัยความรู้ต่างๆ ใน pantip ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ และนำมาต่อยอดในชีวิตและครอบครัว
เราสองคนทำงานรับราชการ โดยก่อนแต่งงานสามีทำงานจังหวัดติดกันแต่อยู่ติดชายแดน ระยะทางประมาณเกือบ 200 กิโลเมตร จนปีนี้ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองทำให้ใกล้กันมากขึ้น ห่างประมาณ 100 กิโลเมตร เราสองคนจึงตัดสินใจซื้อบ้านใกล้ๆ ที่ทำงานสามี และใกล้บ้านสวนประมาณ 40 กิโลเมตร พอแต่งงานกันเราจึงเริ่มวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัว โดยเรื่องซื้อบ้านสามีเป็นผู้ดูแล โดยเราแยกกระเป๋าใช้จ่ายเงินกันคนละกระเป๋า แต่ในทุกเดือนเงินเดือนออก เราจะแบ่งสัดส่วนเงินมารวมกองกลางบ้าน ดังนี้
- ส่วนที่1 กองกลางบ้าน สัดส่วนเรา 75% สามี 25% เราจะออกเยอะกว่าเพราะสามีดูเรื่องค่าบ้าน ส่วนเราจะดูเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากับข้าว รวมถึงค่าของใช้ในบ้าน ซึ่งจะไม่ค่อยเยอะมาก ในส่วนนี้เราช่วยกันลดค่าใช้จ่าย โดยการแต่งบ้านด้วยการปลูกผักรอบบ้าน ทำกับข้าวทานเอง ไม่ค่อยทานนอกบ้าน วันหยุดเสาร์ - อาทิตย์เราจะกลับบ้าน ส่วนวันทำงานเราจะนอนบ้านพักสำนักงาน กลับบ้านเราจะทำงานงานบ้านเอง ซักผ้า น้ำจากการซักผ้าก็จะลดน้ำต้นไม้ กวาดบ้าน-ถูบ้าน รีดผ้า ล้างรถบ้างบางครั้ง ส่วนสามีจะทำกับข้าว ตัดหญ้า รดน้ำต้นไม้ (เพราะอยู่บ้านทุกวัน) เบ็ดเสร็จค่าน้ำ-ค่าไฟ ไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน ส่วนค่ากับข้าวจะซื้อเป็น Week ไม่เกินเดือนละ 700 บาท ค่าของใช้ประมาณ 500 บาท ต่อเดือน ซึ่งเราจะเป็นคนถือเงินก้อนนี้ และทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทุกสิ้นเดือนก็จะสรุปให้สามีดู
เริ่มปลูกผักรอบบ้าน
มะเขือยาว
ดอกอัญชัน
ใบชะพลู
ต้นมะนาว
ดอกแคร์
กะเพรา
ดอกแคร์ออกดอกแล้ว
ต้นข่า
ผลผลิตรอบบ้าน
ทำกับข้าวง่ายๆ ทานเองที่บ้าน
- ส่วนที่ 2 เงินเก็บออมฉุกเฉิน+ท่องเที่ยว ในส่วนนี้แบ่งเก็บในสัดส่วนเท่ากัน ซึ่งเรามีเงินเก็บไว้ฉุกเฉินหลังจากแต่งงานก้อนหนึ่ง เราเอาไปลงทุนโดยการซื้อหุ้น ซึ่งพอได้กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง ปันผลบ้าง ผสมกัน เอานิ่งๆ ไว้ในนั้นก่อนมีความจำเป็นค่อยนำออกมาใช้ และเก็บเพิ่มไว้เพื่อการท่องเที่ยวด้วย ส่วนตัว จขกท เป็นคนชอบเที่ยวมาก ปีนี้เราก็ไม่ได้ทำแต่งานเราก็มีไปเที่ยวบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจากการทำงาน ปีนี้เราไปเที่ยว อัมพวา พระนครศรีอยุธยา กลับบ้านที่ใต้ และเที่ยววัดต่างๆ และก็ลงทุนทำสวนที่บ้านสวน ในทุกเสาร์อาทิตย์ถ้าว่างเราก็ไปทำสวน ซึ่งเราทำบ้านสวนหลังเล็กๆ ไว้พักยามไปสวน บ้านเพิ่งเสร็จสมบูรณ์ในปีนี้ ตอนแรกถ้าไม่ซื่อบ้านก็คงอยู่บ้านนี้ไปก่อน บ้านหลังเล็กๆ แต่มีความสุขมาก บ้านหลังนี้ออกแบบเองและพี่ชายช่วยทำให้ และเราก็ช่วยทำกันจนเสร็จ เบ็ดเสร็จประมาณ 100,000 บาท
มีบ่อน้ำไว้เลี้ยงปลา
ฝนตกแล้ว
ห้องน้ำ
ทำเองเลย
ตกแต่งน่ารักๆ
เรียบง่าย
เก้าอี้นั่ง แบบง่ายๆ
บ้านหลังเล็กๆ
บ้านสวนหลังเล็กๆ
- ส่วนที่ 3 เงินสำรองเก็บให้ลูก เราสองคนยังไม่มีลูกกำลังวางแผนจะมี หลังจากแต่งงานเราเริ่มเริ่มออมให้ลูก โดยแบ่งเงินในสัดส่วนที่เท่ากันและนำไปซื้อกองทุนรวมไว้ 2 กอง ซึ่งเราเป็นคนดูเรื่องกองทุน ได้ปันผลก็นำไปซื้อต่อ ได้กำไรบ้างนิดๆหน่อยๆ ในส่วนนี้เก็บนิ่งๆ ไว้รอลูก
- ส่วนที่ 4 เงินใช้จ่ายและเงินออมของแต่ละคน ส่วนนี้แยกกระเป๋ากันค่ะ เป็นเงินเดือนที่เหลือ โบนัส เบี้ยเลี้ยง ออมอิสระเลยค่ะ โดยหลักเงินเดือนออกก็แบ่งมาใช้จ่ายของแต่ละคนตามพอใจเลย อยากได้อะไรก็ต้องเก็บออมซื้อเอง อยากไปทานบุฟเฟ่ก็หารกันค่ะ วันพิเศษหรือใครได้โบนัสก็เลี้ยงกันค่ะ โดยในส่วนของ จขกท จะแบ่งเงินออกมาเป็นค่าใช้จ่ายและออมดังนี้ค่ะ
1. ค่าใช้จ่ายประจำวัน หักแบ่งออกมาเก็บไว้ ตั้งเป้าใช้วันละ 100 บาท ถามว่าพอมั๊ย บางวันพอบางวันเกินแต่ไม่เกิน 150 บาท หลักๆ ไว้ซื้อข้าวทานตอนกลางวันและตอนเย็น ไม่มีค่าเดินทาง (บ้านพักอยู่ในสำนักงาน) ตอนเช้าทานขนมปัง กาแฟ และนม ก่อนออกจากบ้านก็จะพยายามยอดกระปุกก่อนทุกวันและเหลือตอนเย็นก็หยอดอีก ซึ่งเงินออมส่วนนี้ทุกสิ้นเดือนจะออกมานับและโอนเข้าไว้ซื้อสลากออมสินค่ะ เราไม่ค่อยกินจุกกินจิก นานๆ ทีกิน และส่วนใหญ่เดือนนึงเราออกพื้นที่ค่อนข้างบ่อย ในส่วนนี้ก็ประหยัดค่ากินได้เยอะ
2. ค่าใช้จ่ายของใช้ ค่าไฟบ้าน ค่าโทรศัพท์ และค่าเดินทางกลับบ้าน ในส่วนนี้จะอยู่ประมาณ 2000 บาทต่อเดือนค่ะ
3. เงินออมพิเศษจากการทำงาน พอได้มาก็เก็บ 10% ออมในออมทรัพย์พิเศษสหกรณ์ อีกส่วนเก็บไว้ลงทุนทำสวน ท่องเที่ยว ซื้อของที่อยากได้ ให้เตี่ย ทำบุญ ซึ่งปีนี้ก็หมดไปกับการลงทุนทำสวนเยอะเลย เป็นพื้นที่ได้รับจากเตี่ย ปล่อยรกร้างมานานมากหลังจากที่ท่านทำไม่ไหว แต่ท่านก็ปลูกต้นไม้ไว้ให้ลูกหลานได้ใช้พัฒนา รู้สึกดีและมีความสุขได้เห็นสวนพัฒนาขึ้น เป็นงานอดิเรกยามว่าง
ปลูกต้นไม้ ไว้ใช้ประโยชน์
ต้นมะพร้าว
ต้นสักทอง
ตัดหญ้า
สวนสวยๆ
สวนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วค่ะ
// จบในส่วนการออมของ จขกท และแอบสังเกตการใช้จ่ายของสามี ก่อนย้ายมาในเมือง สามีเป็นเฮฮาปาร์ตี้ ชอบดื่ม ให้คนอื่นยืมเงินไม่ได้คืน เงินส่วนใหญ่ชนเดือน แต่เค้าเป็นคนชอบเก็บเหรียญ ได้พิเศษก็จะโอนเข้าบัญชีรวมซึ่งถอนคนเดียวไม่ได้ ก่อนย้ายเลยมีส่วนนี้ได้ซื้อทองเก็บไว้บ้าง หลังแต่งงานก็ตกลงว่าอยากได้อะไรต้องเก็บออมเอานะ เราเลยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการใช้เงิน เงินเดือนออกเค้ามีส่วนเรื่องบ้าน ให้คุณแม่ และจะโอนเงินที่ตกลงกันไว้ให้เราเก็บ ที่เหลือเค้าใช้จ่ายและออมเอง ปีนี้เค้าอยากลงทุนทำสิ่งที่เค้ารัก ตอนแรกอยากได้รถแต่พอคิดๆ ยังไม่ความจำเป็นและเราก็มีรถไว้ใช้คันนึงแล้วก็เลยยกเลิกไป แล้วมาลงทุนดีกว่า สังเกตว่าเค้าตั้งใจออมเงิน โดยจะแบ่งเงินได้จ่ายใส่ปฏิทินวันละ 150 บาท ดื่มน้อยลง โบนัสเบี้ยเลี้ยงเก็บใส่กระปุก เพื่ออยากลงทุนทำสิ่งที่เค้ารัก จนปลายเดือน พย. เค้าอยากลงทุนแล้ว ก็เปิดกระปุกปรากฏว่าเก็บเงินได้เยอะกว่าเราอีก แต่ยังไม่พอ เราเห็นถึงความตั้งใจ และรู้สึกว่าเค้าตั้งใจเก็บออม ก็เลยให้ยืมเงินไปลงทุนจนครบ แล้วเราสองคนก็มานั่งคุยกันต่อปีหน้าจะทำอะไร เป้าหมายในการออมเพื่อต่อยอดการลงทุนคืออะไร
"จบแล้วค่ะเผื่อเป็นแนวทางการวางแผนครอบครัวสำหรับเพิ่งเริ่มสร้างครอบครัวใหม่ค่ะ"
จากการเก็บเงินในกระปุกออมสินไม่น่าเชื่อเล็กๆ น้อยๆ ก็ผสมกันได้เยอะเพื่อไปต่อยอดการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
มีไข่ไก่
เล้าไก่
ลงทุนทำฟาร์มไก่ชน ความสุขของสามี ทำโรงเรือนเองทุกอย่าง จบแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ
เก่งจริงๆ
ซึ่งจากกระทู้นี้หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งไอเดียสำหรับคนที่แต่งงานแล้วไม่รู้จะจัดสรรการออมเงิน และแบ่งเงินเก็บยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้กันได้นะคะ นอกจากจะได้เงินออมไว้ใช้จ่ายในครอบครัวและเผื่อฉุกเฉินแล้ว ยังได้เงินลงทุนด้วย
ขอขอบคุณที่มาจาก : tualektuanoi