แนวทางการรับมือกับฝุ่น PM 2.5 ภัยร้ายที่ปะปนอยู่กับอากาศ
PM 2.5 เป็นภัยร้ายที่มองไม่เห็น ยากที่จะป้องกัน ยากที่จะกำจัด ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยการเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้เลย
การตรวจวัด PM 2.5 ความไม่เข้าใจที่ลุกลามจนกลายเป็นความสับสนเป็นประเด็นเสียหาย ในเชิงของการรับรู้ข้อมูล ของประชาชนที่มีความเข้าใจผิดกันเป็นอย่างมาก
ภาพที่ 1 แสดงถึง การไหลเวียนของอากาศ ระหว่างภายในและภายนอกรวมถึง การหมุนเวียนของอากาศภายในบ้าน ที่พบเห็นได้ทั่วไปโดยอากาศจะถ่ายเท ผ่านประตูหน้าต่าง ทั้งตอนที่ปิดและเปิด รวมถึงระบบระบายอากาศใต้หลังคาหรืออาจมีเพิ่มเติม ในกรณีที่มีการติดตั้งพัดลมระบายอากาศด้วย
ภาพที่ 2 แสดงถึง ในสถานการณ์ที่มี PM 2.5 น้อยๆ สามารถการปิดกั้น รูรั่วต่างๆ ที่มีมากเกินไปเพื่อป้องกัน ไม่ให้อากาศภายนอก เล็ดลอดเข้ามาภายในได้ซึ่ง ก็จะทำให้ PM 2.5 ที่ละลายอยู่ในอากาศเข้ามาน้อยลงไปด้วยเป็นการช่วยลดปริมาณ PM 2.5 ภายในบ้าน เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ในเบื้องต้นแต่ การปิดรูรั่วต่างๆ ก็จะส่งผลให้ เกิดการสะสม ของคาร์บอนไดออกไซด์ในบ้านมากขึ้นได้
ภาพที่ 3 แสดงถึง สถานการณ์ที่มี PM 2.5 มากขึ้น จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพนอกจากการปิดกั้นรูรั่วต่างๆแล้วการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อดักจับ PM 2.5 ทีเล็ดลอดเข้ามาในบ้านก็จะเป็นตัวช่วย ทำให้อากาศภายใน มีคุณภาพที่ดีพอแต่การปิดกั้นรูรั่ว และระบบระบายอากาศ ก็ยังคงจะส่งผลเสีย ให้เกิดการสะสม ของ คาร์บอนไดออกไซด์ ภายในบ้าน เช่นเดิม
ภาพที่ 4 แสดงถึง สถานการณ์ที่มี PM 2.5 สูงมาก ในระดับ 100 200 300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไปการจะป้องกัน PM 2.5 ให้ได้ผล จำเป็นต้องทำให้อาคารเป็นระบบปิด ให้มากที่สุดแต่เมื่อเป็นระบบปิด ก็จะมีปัญหาเรื่องการถ่ายเทอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นจึงต้องใช้การเติมอากาศบริสุทธิ์เข้ามา โดยให้ผ่าน เครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถจับ PM 2.5 ได้มากพอในเบื่องต้นและทำงานร่วมกับ เครื่องฟอกอากาศ ภายใน อาคารพร้อมกับติดตั้งระบบระบายอากาศ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสม คาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารวิธีนี้เป็นวิธีเดียว ในการสู้กับ PM 2.5 ในปริมาณที่สูงมาก
สรุปว่าในกรณีที่ PM 2.5มีค่าสูงมากๆระบบป้องกัน PM 2.5 ที่ถูกต้อง จะต้องเป็นห้องปิดทึบและใช้ระบบระบายอากาศแบบ Positive Pressure Clean Fresh Air System หรือ OAU เท่านั้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า " ระบบนี้ เป็นเพียงทางเลือกเดียว ถ้าค่า PM 2.5 ภายนอกสูงมากๆ "
อันตรายจากฝุ่น_PM 2.5
1. จากขนาดที่เล็กมาก จึงทะลุผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือด ได้โดยตรง
2. เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดภาวะอัมพาตหรือเสียชีวิต
3. เส้นเลือดตีบตัน ทำให้หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ
4. ไหลตามกระแสเลือด เข้าไปในรก ทำอันตราย ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด
5. ไอ เจ็บคอ หายใจแล้วมีเสียงครืดคราด มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ
6. เพิ่มความเสี่ยง ในการเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นมะเร็งได้
ข้อมูลทั้งหมด รวบรวมมาจากหลายแหล่ง และนำมาเรียบเรียง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายหวังเพียงให้ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ที่มีแนวโน้มว่า จะต้องเจอกับภัยร้ายเช่นนี้ ไปอีกยาวนาน และเกิดขึ้นได้ตลอด หาก มีข้อผิดพลาด บกพร่องประการใด กรุณาแนะนำเพื่อแก้ไข เพิ่มเติมได้ครับ อ่านเพิ่มเติม
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : สถาปนิก เพื่อสังคม