วิเคราะห์ลึก แหลมเกตุซีฟู้ด ยอดขายเป็นร้อยล้าน แต่ทำไมถึงเจ๊ง
จากกรณีบุกรวบตัว "โจม" เจ้าของร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ชื่อดัง แหลมเหตุซีฟู้ด ในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งร้านอาหารสุดหรูนี้ มีโปรโมชั่นดึงดูดใจลูกค้าในราคาเอื้อมถึง แต่กลับปิดร้านหนี มีการร้องเรียนเกิดขึ้นมากมาย
ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Supapong Yim Nilket ได้ออกมาวิเคราะห์ลึก ถึงสาเหตุที่แหลมเหตุซีฟู้ด เจ๊งทั้งๆที่มียอดขายกว่าร้อยล้าน โดยได้ระบุว่า
"อุทาหรณ์ เมื่อร้านยักษ์ต้องล้ม เพียงเพราะเลือกใช้ บางเครื่องมือใน digital marketing ผิดรูปแบบ ผิดเครื่องมือ ไม่เหมาะกับ business model นอกจาก case study ทางธุรกิจที่สำเร็จแล้ว ผมก็ชอบติดตาม case study ที่ล้ม เพื่อหาปัจจัยต่าง ๆว่าร้านยักษ์ใหญ่ ล้มได้ยังไง เลยจะขอเอามาโพสต์เรียงลำดับตามที่เข้าใจ
1. ตอนเปิดร้านที่ โครงการ infinite ความจุ 300 ที่นั่ง ต้นทุนอาหารทะเล ควบคุมราคาไม่ได้ ก็ขาดทุนไปเรื่อย ๆ เดือนละห้าแสน
2. เลยจัดแบบบุฟเฟ่ต์ สร้างการรับรู้ ยอดขายขึ้นเป็นร้อยล้าน แต่ไม่รู้ยอดต้นทุน ยอดกำไร แต่คิดว่า ยังไงก็ขาดทุน แต่สิ่งที่ได้ คือ awareness + viral marketing
3. พอร้านเริ่มติดตลาด เลยติดต่อทีม marketing online ให้ออกโปรโมชั่นผ่านตั๋วต่าง ๆเพื่อเอาเงินมาหมุนก่อน
4. เงื่อนไขที่น่ากลัวคือ ทีมออนไลน์ จะได้คอมมิชชั่นค่าตั๋วด้วย ทีนี้ บรรลัยเลย ตั๋วออกเยอะเกินความจุของร้านที่จะรับลูกค้าที่ซื้อตั๋วได้
5. ร้านดิ้นต่อ ย้ายร้านไปที่ show dc ความจุลูกค้า 800 ที่นั่ง เพื่อหวังระบายลูกค้าที่ซื้อตั๋วโปรโมชั่นต่าง ๆ
5.1 ไป show dc ไม่สวยหรูอย่างที่คิด อันแรกคือ เอาโรงละคร มาทำร้านอาหาร ครัวจึงอยู่ห่างไป ห้าชั้น ดังนั้น หนึ่งเมนู ใช้เวลา สิบนาที จากครัว มาที่ร้าน(ไม่รวมเวลาปรุง) อาหารก็เย็น และ เสริฟช้า ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะโครงสร้างของอาคารที่มีโรงละคร ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อมีห้องครัวขนาดเสริฟ 800 คนตั้งแต่แรกมาโดยเฉพาะ
5.2 ตอนออกมาจากสถานที่เก่า มีปัญหาเรื่องค่าเช่า เลยโดนยึดจาน ช้อน ส้อม อุปกรณ์ทำครัว ไว้หมด เลยต้องเสริฟ จานกระดาษ ที่ dc และอ้างว่าเพื่อลดโลกร้อน
6. หลังจากนั้น ก็เป็นเรื่องเป็นราวอย่างที่เห็น อาหารเสริ์ฟช้า คุณภาพบริการลดลง และมีอีกหลายพันคนที่ซื้อตั๋ว ที่ต้องรอเป็นปีกว่าจะได้คิวกิน หรือไปแล้ว คิวยาวเกิน ให้ลงทะเบียนผ่านอีเมลล์ กระทบกระทั่งกันหน้าร้าน จนตำรวจต้องเข้ามาแยกก็มี
7.ตำรวจเห็นว่า ร้านจุได้ 800 ที่นั่ง แต่พี่แก ออกตั๋วโปรไป 3.7 แสนใบ กว่าจะได้กินครบทั้งเกือบ 3.7 แสนที่นั่งนี้ คงจะเป็นชาติหน้า ถ้าแบบนี้ เข้าข่ายฉ้อโกง เลยตามจับในที่สุด
Digital marketing เหมาะกับสินค้าที่ repeatable ก๊อปปี้ตัวเองไปเปิดเพิ่มที่อื่นได้ โดยใช้ต้นทุนต่ำ และ scalable ขยายความใหญ่ตัวเอง โดยใ้ช้ต้นทุนต่ำ
ดังนั้น ร้านอาหาร ธุรกิจที่ใช้ต้นทุนสูง เวลาจะขยาย โยกย้าย ก็ต้องใช้กลยุทธ์ให้เหมาะกับ business model ของตัวเอง (ขออนุญาตโพสต์อีกรอบโพสต์เมื่อครู่ถ้าผู้ใดแชร์ไป เฟสอาจจะแชร์ไปแต่ลิงค์แต่จะไม่ได้แชร์ข้อความ)"
กว่าจะถึงตอนนี้ก็มีการร้องเรียน และการรีวิวสุดเดือดเกิดขึ้นมากมายเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งตอนนี้เราก็ได้รู้ได้เข้าใจถึงปมความล้มเหลวในการทำธุรกิจของทางร้านแล้ว
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.in.th, ขอขอบคุณที่มาจาก : Supapong Yim Nilket