ทริปปั่นท่องเที่ยวไปกลับกรุงเทพ-ร้อยเอ็ด 9 วัน 1,265กม.
เชื่อว่าหลายคนมีความฝันที่อยากจะเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยสุดมันส์สไตล์แอดเวนเจอร์ ในรูปแบบการปั่น วันนี้ จะขอนำเสนอ วิธีการเดินทางจากกรุงเทพ-ร้อยเอ็ด ด้วยการปั่นจักรยานท่องเที่ยว ไป-กลับ ระยะทาง 1,265 กม. ใช้เวลา 9 วัน จะไปอย่างไรไปติดตามพร้อมๆกันเลยครับ
โดยสมาชิกพันทิปชื่อคุณ อะไรๆก็ดีไปหมด เล่าว่า "สวัสดีครับ พบกันอีกแล้วกับคนปั่นจักรยานเร่ร่อนพเนจร เปลี่ยนที่กินที่นอนไปเรื่อยทริปนี้เกิดจากน้าเอ อยากปั่นจักรยานกลับไปบ้านที่ร้อยเอ็ด(อ.เกษตรวิสัย) ผมว่าง จึงอยากไปด้วย และช่วยวางแผนเส้นทางขาไป(1-5 เม.ษ.)ดังนี้"
ทางจะอ้อมเยอะ เพราะต้องการเที่ยวระหว่างทาง และหลีกเลี่ยงถนนสายหลักหาที่กางเต็นท์ตามอุทยาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
เส้นทางขากลับ(6-9 เม.ษ.) เริ่มเดินทางเช้ามืดของวันที่ 1 เม.ษ. 2560 จากท้ายซอยแบริ่ง จ.สมุทรปราการ
ปั่นออกจากบ้านตั้งแต่ตีสี่ หวังว่าจะหลบร้อนจากแดดได้บ้าง ที่ไหนได้ เจอฝนตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงฉะเชิงเทราแวะหลบฝนแถวลาดกระบังแป๊บนึง ดีที่ตกไม่แรงนัก พอจะปั่นลุยฝนไปได้
13.749687, 100.844060 แขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง กทม.
บรรยากาศดีๆที่หาไม่ได้จากถนนสายหลัก
แวะกินมื้อเช้าริมถนนสุวินทวงศ์ ร้านนี้ถูกอร่อย จานนี้เพียง 35 บาท
ชอบถนนเส้นนี้ ต้นไม้เยอะดี
ถนนเลียบคลอง 17 ยาวราว 12 กม.
ผมเห็นป้ายแตงโมหวานมาก อยากพิสูจน์ว่าจริงมั้ย จึงซื้อมาลูกนึง
ทางหลวงหมายเลข 3001 กำลังถูกปรับปรุง ดีที่ฝนตก ไม่งั้นฝุ่นตลบแน่ รถบรรทุกวิ่งเยอะทีเดียว
ไม่ได้วิ่งถนนสายหลัก ปั๊มน้ำมันหายาก ต้องอาศัยห้องน้ำวัด
เข้าเขตจังหวัดนครนายกแล้ว ต้นราชพฤกษ์(ต้นคูณ) พบเห็นได้ตลอดทางจนถึงร้อยเอ็ดลมสวนแรงมากทีเดียว ปั่นได้ช้าลง
ว่าจะหาศาลานั่งพักกินแตงโม แต่หาไม่เจอ จึงปูเสื่อพลาสติกริมถนน แตงโมเนื้อดีหวานมากจริงๆ
เจอคนกำลังสูบน้ำ ต้องยกจักรยานข้าม
รถน้าเอมีเสียงเอี๊ยดอาดที่โซ่ เมื่อเช้าลุยฝนจนน้ำมันเคลือบโซ่หายหมด ต้องหยอดหล่อลื่น
หลังจากกางเต็นท์เสร็จ ผมจึงฝากของทั้งหมดไว้กับน้าเอ แล้วไปพายเรือรอบอ่างข้างในอ่างมีน้ำตกซึ่งตอนนี้ไหลแรงพอๆกับน้ำก๊อก ไม่ได้ถ่ายรูปมาฝากเพราะไม่ได้ติดกล้องไปด้วย
ข้างอาคารที่เราลงทะเบียนกางเต็นท์ จะมีขายข้าวเหนียวหมูปิ้ง ร้านยำ ร้านส้มตำ น้ำขวดน้ำอัดลมเต็นท์ของน้าเอเป็นแบบนอนได้ 5 คน ใหญ่มาก หนักถึง 7 กิโลกรัม
โดนหมาวิ่งไล่ตามทุกวัน วิธีแก้ง่ายๆที่น้าเอทำ คือเบรคแล้วจอดทันที หมาจะถอยห่างไปเอง แต่เจ้าตัวน้อยนี้ช่างมัน
แวะกินก่อนเข้าอุทยานแห่งชาติปางสีดา วางแผนไว้ว่าจะไปกางเต็นท์บนเขาจึงต้องกินตุนไว้ก่อน เดี๋ยวจะได้ออกแรงเยอะ
ทางช่วง 10 กิโลเมตรแรก จะขึ้นเขาเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นจะขึ้นๆลงๆเขาบางช่วงทรายกรวดหนา รถผมสะบัดเกือบลื่นล้ม
แวะเติมน้ำที่จุดกางเต็นท์ กม.19 ผมใช้กระติกแบบมีไส้กรองน้ำ น้ำในห้องน้ำสะอาดดี เหมือนเป็นน้ำฝน
ทีแรกว่าจะกางเต็นท์นอนในป่าละเลิงร้อยรู แต่ดูแล้วเวลาเหลือ จึงเปลี่ยนแผน ปั่นเลยไปนอนที่อื่นดีกว่า
พอถึงทางเข้าเขื่อนลำนางรอง น้าเอบอกว่าถ้าเลยไปกางเต็นท์ที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จะดีกว่าไหมผมก็เห็นด้วยเพราะเรามาถึงที่นี่บ่ายสามโมง ยังเหลือเวลาปั่นไปได้เขาพนมรุ้งอยู่ห่างจากที่นี่ 43 กม. แผนเดิมคือพักที่เขื่อนลำนางรองแล้ววันรุ่งขึ้นปั่นไปเที่ยวปราสาทเมืองต่ำ แล้วกางเต็นท์ที่เขาพนมรุ้ง ระยะทางราว 60 กม.
จึงสอบถามพี่แดง(แม่ค้าร้านอาหารนี้ น่ารักมาก เอาแตงโมงมาให้กินฟรีด้วย) ว่าแถวนี้มีที่กางเต็นท์ได้ที่ไหนบ้างพี่แดงแนะนำ อบต.ร้าง ห่างจากร้านพี่แดงราว 100 เมตร พี่แดงบอกว่ามาอาบน้ำที่ร้านได้
แวะชมปราสาทหน่อย สมัยวัยรุ่นเคยมาเที่ยวที่นี่ครั้งนึงแล้วชอบ
ได้ยินเจ้าหน้าที่อธิบายว่าที่หินมีรูๆแบบนี้ ทำไว้เพื่อการเคลื่อนย้าย
ดูระยะทางวันนี้ 180 โล คงถึงบ้านน้าเอมืดมากแน่ๆคุยกันว่าจะเปลี่ยนแผนไปนอนแถวตัวเมืองบุรีรัมย์ดีกว่าไหม จะได้เที่ยวเพิ่มด้วย น้าเอก็โอเค
ผมไม่ใช่แฟนบอล พึ่งรู้ว่าเรามีสโมสรฟุตบอลที่ดูยิ่งใหญ่ขนาดนี้
ด้านหลังสนามมีร้านค้าและบริเวณพักผ่อนหย่อนใจ
ของกินเพียบ น้าเอเดินแสกนทั่วตลาดก่อน 1 รอบ
ข้าวขาหมูอร่อยดี อร่อยแทบทุกมื้อเลยทริปนี้
ปั่นมา 659 กม. ในที่สุดก็ถึงบ้านพ่อน้าเอ
ญาติๆน้าเอทึ่งที่น้าเอปั่นจักรยานมาถึงบ้านได้
ครอบครัวน้าเอเลี้ยงอาหารผมชุดใหญ่ ขอบคุณมากครับ
เช้าวันที่ 6 ออกจากบ้านพ่อน้าเอตั้งแต่ตีห้า ปั่นย้อนเส้นทางเดิมเป็นไปตามคาดว่าลมหนาวคงจะอ่อนกำลังลงแล้ว ขากลับจึงไม่มีลมส่งแวะเข้าห้องน้ำที่จุดตรวจและบริการประชาชน ซึ่งดูแล้วน่าจะขอกางเต็นท์นอนได้
นับได้ว่าเป็นทริปที่สุดยอดจริงๆ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งนี้คุณเอยังบอกอีกว่า "ทริปนี้เหนื่อยลม เจอลมสวนทุกวัน ผิดคาดว่าอากาศไม่ร้อนมากอย่างที่คิดได้เจอแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆที่น่าประทับใจ อาหารการกินผลไม้อร่อยๆเกินคาด" แบบนี้ต้องจับกลุ่มเพื่อนลองบ้างซะแล้ว
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : อะไรๆก็ดีไปหมด