คุณแม่กุมขมับ แบบเรียนภาษาอังกฤษ จากคำอ่านภาษาไทย
กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก เกี่ยวกับแบบเรียนภาษาอังกฤษของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งทำเอาคนเป็นแม่ถึงกับต้องกุมขมับ เมื่อเจอคำลงท้าย “ซึถทึ, ซึทึ”
โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อว่า Aksika Chantarawinji ได้ถ่ายภาพตัวอย่างมาโพสต์ลงโซเชียล พร้อมกับตั้งคำถามในเชิงว่า มีใครเคยเจอแบบนี้บ้างหรือไม่?
คุณ Aksika Chantarawinji เขียนแคปชั่นเอาไว้ว่า…
“หลักสูตร EP รร. ไหน สอน Phonics เด็กแบบนี้บ้างคะ? ผิดวัตถุประสงค์การเรียนภาษาด้วยประการทั้งปวง เพราะเป็นการสอนเด็กท่องจำ”
“อ้างอิงจาก หนังสือสอนเสริมที่ รร.จัดทำเอง รร. สพฐ แห่งหนึ่งค่ะ เรียน Phonics คือเรียนออกเสียง แต่การสอนใช้การคัดคำอ่าน”
“ปัญหาคือทุกครั้งเวลาเด็กต้องการเทียบเสียง เด็กจะต้องคิดเป็นภาษาไทย และทำว่า G เกอะ คือ ก.ไก่ แต่บางครั้งก็เป็น จ.จาน… เสียง C เคอะ บางครั้งเราออกเสียง CAR = คาร์ แต่ rice เราอ่านว่า ไรซ์ ไม่ใช่ ไร้ค์…”
เธอกล่าวต่อไปว่า…
“นี่คือสิ่งที่ต้องตั้งคำถามว่าโรงเรียนมีความเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานหรือไม่ การสอนแบบนี้สร้างความเข้าใจผิดให้เด็ก ไม่สอนยังจะดีกว่า สอนน้อย ดีกว่าสอนผิด สอนให้ท่อง บังคับท่อง ท่องไปก็จำไม่ได้ถ้าไม่ได้ใช้จริงค่ะ”
“ขออนุญาตผู้ปกครองค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเข้าใจผิด หนังสือเล่มนี้ ถ่ายจากตำราเรียนลูกชายซึ่งเรียนในโรงเรียนในกำกับของรัฐ ที่ทำหลักสูตร EP / MEP ไม่ใช่สารสาทวิเทศน์ ค่ะ…”
ขณะเดียวกันด้านชาวเน็ตบางท่านก็ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่างจากคุณแม่ อาทิเช่น ลูกเราตอนเรียน ป.1 ที่เยอรมัน โรงเรียนสอนการอ่านแบบนี้เลย ใช้เวลาแค่ 2 อาทิตย์ อ่านได้ชัดแจ๋ว เรายังทึ่งวิธีการสอนอ่านของเขาเลย หลังจากนั้นลูกอ่านคำยากๆได้หมดภายในเดือนเดียวนั่นแหละ เพราะเขารู้หลักสะกดคำและออกเสียง ส่วนการเขียนส่วนมากก็เขียนตามที่ออกเสียง มีคำยกเว้นบ้างตามหลักภาษาทั่วไปก็ท่องเอาที่ยกเว้น การอ่านแบบโฟนิกส์ เราว่าโอเคนะ
แล้วเพื่อนๆ ล่ะ คิดเห็นอย่างไรกับแบบเรียนในลักษณะนี้บ้าง? หรือมีใครเคยเรียนภาษาอังกฤษในลักษณะนี้มาก่อนบ้างหรือไม่ เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันได้เลยครับ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.in.th ขอขอบคุณที่มา : Aksika Chantarawinij